2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

18 1. สร้างสรรค์สมาชิกใหม่ (Reproduction) เพื่อให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้ เพราะสังคม จะต้องมีสมาชิกใหม่แทนสมาชิกเดิมที่ตายไป การสร้างสรรค์สมาชิกใหม่มีความสำคัญมาก ถ้าไม่มีการ สร้างสมาชิกใหม่สังคมนั้น ๆ ก็จะต้องสูญหายไป การมีสมาชิกใหม่ก็ต้องมีการให้สมดุลกับทรัพยากร ภายในประเทศ คือ ไม่มากเกินไปหรือน้อย เกินไป ถ้ามีมากเกินไปจนทรัพยากรภายในประเทศไม่ อาจจะอำนวยสังคมที่ยากลำบาก และเกิดปัญหาต่าง เช่น ความยากจน อาชญากรรม เป็นต้น แต่ถ้ามี สมาชิกน้อยเกินไปสังคมนั้นก็อาจจะประสบปัญหาขาดแคลนกำลังคน เช่น ออสเตรเลี ย ขาดแรงงาน ด้านกรรมกรต้องเอาคนมาจากประเทศอื่น เป็นต้น 2. บำบัดความต้องการทางเพศ (Sexual Gratification) ซึ่งจะออกมาในรูปการสมรส เป็นการลดปัญหาทางเพศบางอย่าง เช่น ข่มขืน การสมรสจึงเป็นสิ่งจำเป็นในสังคมที่มีการจัดระเบียบ เพราะการสมรส คือ วิธีหนึ่งที่สังคมเข้ามาควบคุมความสัมพันธ์ให้อยู่ในขอบเขต แต่ก็ไม่ได้หมายความ ว่า ความต้องการมีความสัมพันธ์ทางเพศแต่อย่างเดียว จะต้องทำให้มนุษย์มีครอบครัวเสมอไป 3. เลี้ยงดูผู้เยาว์ให้เติบโตขึ้นในสังคม (Maintenance of immature children or raising the young) จะเห็นได้ว่าไม่มีสถาบันใดทำหน้าที่ดีกว่าสถาบันครอบครัว เพราะความรักและ อบ อุ่น เด็กจะหาที่อื่นใดเสมือนครอบครัวนั้นยากมาก พ่อแม่ส่วนใหญ่มีความรักลูก ย่อมจะ ประคับประคองเลี้ยงดูลูกของตนเป็นอย่างดี 4. ให้การอบรมสั่งสอนแก่เด็กให้รู้จักระเบียบของสังคม (Socialization) ครอบครัวเป็น แหล่งการอบรมเบื้องต้นที่มีอิทธิพลต่อเด็กมากที่สุด เป็นสถาบันที่เตรียมตัวเด็กให้ออกไปเผชิญกับ สิ่งแวดล้อม ครอบครัวช่วยอบรมเด็กให้รู้จักกฎเกณฑ์ นิยมแบบของความประพฤติ เป็นต้น สอนให้ เด็กปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมในสังคม 5. กำหนดสถานภาพ (Social pacement) ความเป็นบิดา มารดา และบุตร 6. ให้ความรักและความอบอุ่น (Affection) ครอบครัวเป็นแหล่งที่สมาชิกได้รับความรัก และอบอุ่นอย่างบริสุทธิ์ใจ เป็นเหล่งที่ให้ประกันว่าจะมีคนที่เขารักและคนที่รักเขาเสมอ เช่น ความรัก ของสามีภรรยา หรือความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก นอกจากนั้นถ้าสมาชิกคนใดประสบความผิดหวัง ไม่ว่าในด้านการงาน หรือด้านอื่น ครอบครัวจะเป็นแหล่งให้กำลังใจและปลุกปลอบใจ เพื่อให้สามารถ ผ่านอุปสรรคไปได้ สรุปแล้วครอบครัวจึงเป็นแหล่งที่ให้ความรัก ความคุ้มครองความมั่นคงทางด้าน จิตใจแก่สมาชิก ทำให้สมาชิกมีพลังใจในการฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ให้ลุล่วงไปได้ ตาม แ นวคิ ด ข อ ง McMaster (McMaster Model of Family Function: MMFF) (ณัฐรดา อยู่ศิริ et al., 2557) ได้แบ่งหน้าที่ของครอบครัวออกเป็น 6 ด้าน ซึ่งแต่ละด้านมีความ เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน ได้แก่ 1.การแก้ปัญหา ( Problem Solving) หมายความว่า ความสามารถของครอบครัว ต่อการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งภายใน และภายนอกครอบครัว โดยแบ่งปัญหาได้เป็น 2 ด้าน คือ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3