2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

19 1.1 ปัญหาด้านวัตถุ ( Instrumental) เป็นปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ที่อยู่ อาศัย สุขภาพ อาหาร การเงิน 1.2 ปั ญ ห าด้ านอ า รม ณ์ ( Affective) เช่ น ค ว าม โก รธ เคื อ ง ระห ว่ า งพี่น้อ ง การไม่ไว้วางใจกันระหว่างสามีภรรยา ความขัดแย้งภายในครอบครัว 2. การสื่อสาร (Communication) หมายความว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ทั้ง การสื่อสารโดยใช้คำพูด และการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด ครอบครัวที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารจะ สื่อสารกันได้อย่างชัดเจน 3. บทบาท (Role) หมายความว่า แบบแผนหรือพฤติกรรมที่สมาชิกในครอบครัวจะ ประพฤติกันซ้ำ ๆ เป็ นประจำ เพื่อท ำให้ ครอบครัวสามารถปฏิ บัติหน้าที่ ได้อ ย่างเหมาะส ม การประเมินความเป็นไปของบทบาทในครอบ ครัวต้องพิจารณา 2 ด้าน คือ การมอบหมายความ รับผิดชอบในหน้าที่บางประการให้สมาชิก และการดูแลให้สมาชิกรับผิดชอบต่อบทบาทและหน้าที่ ของตน 4. ก า รต อ บ ส นอ งท า งอ ารมณ์ ( Affective responsiveness) ห ม าย ค ว าม ว่ า ความสามารถทางอารมณ์ที่จะตอบสนองต่อกันอย่างเหมาะสมทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณอารมณ์ ที่เกิดขึ้นในครอบครัว ทั้งอารมณ์เชิงบวก เช่น รัก เป็นสุข ยินดี และอารมณ์เชิงลบ เช่น กลัว เศร้า โกรธ เสียใจ ผิดหวัง ครอบครัวที่ทำหน้าที่ได้ดีจะแสดงอารมณ์ได้หลายแบบ ในปริมาณและ สถานการณ์ที่เหมาะสม 5. ความผูกพันทางอารมณ์ (Affective involvement) หมายความว่า ระดับความ ห่วงใยที่มีต่อกันของสมาชิกในครอบครัว การเห็นคุณค่าในสิ่งต่าง ๆ ที่สมาชิกทำ ความผูกพันทาง อารมณ์มีหลายระดับ ได้แก่ 5.1 ปราศจากความผูกพัน 5.2 ผูกพันแบบไม่มีความรู้สึก คือ สนใจตามหน้าที่หรือเพราะความอยากรู้อยากเห็น 5.3 ผูกพันเพื่อตนเอง เพื่อเสริมคุณค่าในตนเอง มิได้สนใจอีกฝ่ายอย่างจริงใจ 5.4 ผูกพันอย่างเข้าอกเข้าใจในความต้องการของอีกฝ่ายอย่างเหมาะสม 5.5 ผูกพันมากเกินไป จนอีกฝ่ายรู้สึกไม่มีความเป็นส่วนตัว 5.6 ผูกพันจนเหมือนเป็นบุคคลเดียวกัน 6. การควบคุมพฤติกรรม (Behavior control) หมายความว่า แบบแผนการควบคุม พฤติกรรมของสมาชิกในสถานการณ์ต่าง ๆ พฤติกรรมที่ต้องมีการควบคุม ได้แก่ พฤติกรรมที่ ตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจและชีวภาพ พฤติกรรมทางสังคม พฤติกรรมที่อาจเป็นอันตราย ต่อร่างกายและทรัพย์สิน และการรักษาระเบียบวินัยภายในครอบครัว การควบคุมพฤติกรรมภายใน ครอบครัวแบ่งได้ 4 แบบ คือ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3