2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
20 6.1 แบ บเข้ มงวด ค รอ บครัวมีการกำหนดมาตรการและกฎ เกณฑ์ที่ ชัดเจน มีบ ทลงโทษเมื่อทำผิด ข้อดี คือ สมาชิกทุกคนจะปฏิบัติ ในหน้าที่ของตน แต่ในทางกลับ กัน การปรับตัวของสมาชิกจะยากลำบาก อาจส่งผลให้สมาชิกมีการต่อต้านแบบดื้อเงียบ 6.2 แบบยืดหยุ่น ครอบครัวมีกฎเกณฑ์ที่ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนกฎไปตามความ เหมาะสมเป็นการควบคุมที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะเป็นไปตามความเข้าใจและยอมรับของคน ในครอบครัว 6.3 แบบอะไรก็ได้ ครอบครัวไม่มีทิศทางแน่นอนว่าสมาชิกควรประพฤติอย่างไร สมาชิกมักขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน การสื่อสารมักมีปัญหาเพราะ ไม่มีใครฟังใคร ครอบครัวแบบนี้จะปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ดี โตมาด้วยความรู้สึกไม่มั่นคง ควบคุมตนเองไม่ได้ และอาจมี พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเพื่อเรียกร้องความสนใจ 6.4 แบบยุ่งเหยิง ครอบครัวมีการควบคุมพฤติกรรมแบบขึ้น ๆ ลง ๆ บางครั้ง เข้มงวด บางครั้งยืดหยุ่น การควบคุมแบบนี้ไม่เหมาะสมที่สุด เพราะทำให้ครอบครัวไม่มีเสถียรภาพ และไม่มีความเสมอต้นเสมอปลายในการปฏิบัติหน้าที่ บทบาทหน้าที่ของครอบครัวมองได้ใน 3 มิติ คือ มิติด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และ ด้านการเมืองการปกครอง หนึ่งมิติด้านสังคม ครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐาน ทำหน้าที่หล่อหลอมความ เป็นมนุษย์ด้วยการเลี้ยงดู อบรม ให้การเรียนรู้แก่เด็ก ให้มีพัฒนาการรอบด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคม อารมณ์ และบุคลิกภาพที่เหมาะสมตามวัย บ่มเพาะขัดเกลาเด็กให้มีการ เรียนรู้ทางสังคมให้เติบโตเป็นคนดีมีคุณธรรมไม่เบียดเบียนหรือละเมิดสิทธิผู้อื่น มีจิตใจเอื้ออาทร มีจิตสำนึกต่อสังคมส่วนรวม โดยการเรียนรู้แบบอย่างที่ดีจากพ่อ แม่และสมาชิกที่เป็นผู้ใหญ่ใน ครอบครัว สองมิติด้านเศรษฐกิจ สมาชิกครอบครัวเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ในฐานะเป็นผู้ผลิต คนในครอบครัวมีบทบาทเป็นผู้ประกอบการและผู้ลงทุน หรือเป็นผู้ใช้แรงงาน ครอบครัวท ำหน้าที่ ขัดเกลา บ่มเพาะนิสัยให้รักการทำงาน ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพของตน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวินัยใน ตนเอง และในฐานะผู้บริโภค ครอบครัวทำหน้าที่อบรมขัดเกลาให้เป็นผู้บริโภคที่มีคุณภาพ รู้เท่าทัน เลือกสรรบริโภคอย่างมีประโยชน์อย่างปลอดภัย รู้จักประมาณและมีภูมิคุ้มกัน การบ่มเพาะจาก ครอบครัว ทั้งในบทบาทของผู้ผลิตและผู้บริโภคจะเป็นพื้นฐานในการสร้างเศรษฐกิจส่วนรวม ในอนาคต และสามมิติด้านการเมืองการปกครอง ครอบครัวท ำหน้าที่บ่มเพาะทักษะทางการเมือง การปกครองให้เกิดขึ้นในครอบครัว จากการกำหนดบทบาทการอยู่ร่วมกันอย่างมีกติกา มีบทบาท หน้าที่รับผิดชอบ มีความเอื้ออาทรต่อกัน ตัดสินใจร่วมกัน รู้จักเจรจาประนีประนอมกันด้วยความรัก ความเข้าใจและเหตุผล เคารพซึ่งกันและกัน รู้จักอภัยกัน ซึ่งเป็นการหล่อหลอมพื้นฐานของวิถีชีวิต ของการอยู่ร่วมกันในสังคม (ศูนย์เฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม, 2550)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3