2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

23 กันและกันและมีความรักใคร่ปรองดองกัน อาจจะมีบุตรด้วยหรือไม่ก็ได้ รวมถึงบุคคลที่ไม่มีความเกี่ยว พันธ์กันทางสายโลหิต อย่างเช่น คนรับใช้ คนขับรถ คนตัดหญ้า ที่อาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัย เดียวกัน ตลอดเวลา ดังนั้น สำหรับคำนิยามของคำว่า ความรุนแรงในครอบครัว หมายความว่า การกระทำที่ บุคคลหนึ่งกระทำการใด ๆ ต่อบุคคลอื่นที่อยู่อาศัยภายในที่อยู่อาศัยเดียวกันหรือเคยอยู่อาศัยในที่อยู่ เดียวกัน ทั้งที่กระทำโดยเจตนาและกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหายทั้ง ด้านชีวิต ร่างกาย จิตใจ อนามัย สิทธิ เสรีภาพ ทรัพย์สิน โดยกระทำการประทุษร้ายโดยใช้กำลังกาย และใช้อาวุธ การบังคับขู่เข็ญ กักขังหน่วงเหนี่ยว รวมถึงการกระทำให้บุคคลอื่นในครอบครัวเดียวกัน ได้รับการอับอายต่อประชาชนในสังคม 2.3.2 สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ในประเทศไทยสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวพบได้หลายรูปแบบ และเป็นปัญหา ที่เกิดทั่วทั้งประเทศ สืบเนื่องมาจากช่วงสถานการณ์ปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้ความรุนแรงในครอบครัวมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รายงาน จากศูนย์ ปฏิบั ติการกรมกิจการสตรีแ ละสถาบั นครอบ ครัว กองส่งเสริมส ถาบันค รอบค รัว กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว รวบรวมสถิติความรุนแรงในครอบครัวย้อนหลัง 6 ปี ตั้งแต่ ปีงบประมาณ 2559 จนถึงปีงบประมาณ 2564 จำนวนความรุนแรงในครอบครัวที่เข้าสู่การช่วยเหลือ จาก ภ าค รัฐจำนวนทั้ งสิ้ น 9,386 ราย แ บ่ งเป็ นใ นปี งบ ป ระม าณ 2559 จำนว น 1,001 ราย ในปี งบ ป ระม าณ 2560 จำน ว น 1,309 ราย ในปี งบ ป ระม าณ 2561 จำนว น 1,353 ราย ในปี งบป ระมาณ 2562 จำนวน 1,680 ราย ในปีง บป ระม าณ 2563 จำนว น 1,866 ราย แล ะ ในปีงบประมาณ 2564 จำนวน 2,177 ราย (ศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กองส่งเสริมสถาบันครอบครัว (ออนไลน์), 2565) สถานการณ์ความรุนแรงในครอบ ครัวมีปริมาณ เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปีและไม่มีวี่แว่วที่จะลดปริมาณลงและเมื่อเปรียบเทียบจำนวนปริมาณความรุนแรงใน ครอบครัวย้อนหลัง 6 ปี พบว่าในปีงบประมาณ 2564 มีปริมาณความรุนแรงในครอบครัวสูงมากที่สุด จากรายงานสถิติความรุนแรงในครอบครัวประจำปีงบประมาณ 2564 ภูมิภาคที่มีความ รุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นมากที่สุด คือ ภาคกลางร้อยละ 28.8 ภาคตะวันเฉียงเหนือร้อยละ 24 ภาคเหนือร้อยละ 23.4 ภาคใต้ร้อยละ 19.6 และกรุงเทพมหานครร้อยละ 4.1 เป็นความรุนแรง ทางด้านร่างกายสูงถึงร้อยละ 64 ความรุนแรงทางด้านจิตใจ ร้อยละ 32 และความรุนแรงทางด้านเพศ ร้อยละ 4 ซึ่งส่วนใหญ่ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวและผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว มีความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นสามีภรรยา คิดเป็นร้อยละ 41 ผลการสำรวจพบว่า ปัจจัยที่กระตุ้นให้ เกิดความรุนแรงในครอบครัวมีทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ได้แก่ ยาเสพติดร้อยละ 20 สุราร้อยละ 14 การพนันร้อยละ 11 หย่าร้างร้อยละ 11 หึงหวงร้อยละ 10 บันดาลโทสะร้อยละ 9 ความเครียด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3