2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
25 4. การให้ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดบทบาทหญิงชายเป็นการให้ความรู้แก่หญิงชายให้เข้าใจ บทบาทของกันและกัน เห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เพื่อลดการกระทำความรุนแรงใน ครอบครัว กลยุทธ์การแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ดังนี้ 1) กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายการ พัฒ นาสตรี เช่น การส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายสตรี ที่สามารถจดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณะ ประโยชน์ สามารถปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริมและพัฒนาสตรีด้านต่าง ๆ เช่น การสร้างอาชีพ การสร้างงานให้กับสตรี เป็นต้น (ปรียาพร สุบงกช และกอบกุล วิศิษฏ์สรศักดิ์ , 2559) 2) กลยุทธ์การ พัฒนาตนเอง โดยเป็นการพัฒนาเพื่อให้เข้าใจ และรับรู้ในบทบาทของแต่ละคน เช่น บทบาทผู้นำใน ครอบครัว หรือบทบาทการเป็นสมาชิกในครอบครัว ได้แก่ บิดา มารดา บุตร รวมทั้งสมาชิกใน ครอบครัว ทั้งปู่ ยา ตา ยายสามารถอยู่ร่วมกันโดยความต่างวัย ๆ ได้อย่างมีความสุข 3) กลยุทธ์การ เรียนรู้เพื่อพัฒนาครอบครัว เช่น การให้ความรู้ในการเตรียมความพร้อมก่อนการมีครอบครัว เพื่อให้รู้ บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบกันภายในครอบครัว ก่อให้เกิดการเข้าใจกันไม่มีความขัดแย้ง (ธีรวุฒิ นิลเพ็ชร และกัญญ์ฐิตา ศรีภา, 2562) 4) การแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวทางด้านสภาพ การเงิน ควรการกำหนดงบประมาณของประเทศเพื่อสนับสนุนการสร้างอาชีพหรือรายได้ การจัดหา แหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายส่งเสริมสินค้าชุมชน 5) กลยุทธ์การพัฒนา และ การบังคับใช้กฎหมาย เช่น การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไข ปรับปรุงข้อบังคับ กฎระเบียบ กฎหมาย ให้ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันให้สอดคล้องกับแนวคิดด้านสิทธิเด็ก สตรี และ สิทธิมนุษยชน การแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวได้มีผู้เสนอแนวทางการแก้ปัญหา โดยพิจารณา จากปัญหาที่เกิดขึ้นไว้หลายแนวทางด้วยกัน มาตรการป้องกันและคุ้มครองแก้ไขด้านสังคมจิตวิทยา (Psychosocial Intervention) ในระดับทุติยภูมิ (Secondary Intervention) เป็นมาตรการป้องกัน ไม่ให้เกิดค วามรุนแรงเพิ่มขึ้นห รือ หากเกิดความรุนแ รงขึ้ นให้ ได้รับความช่วย เห ลือโดย เร็ว 11 มาตรการดังนี้ 1) การสร้างชุมชนให้ มีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา โดยสร้ าง ความสัมพันธ์ภายในชุมชน และร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ 1.1) การสำรวจครอบครัวที่เสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรง 1.2) การสำรวจเด็กที่อาจถูกทารุณกรรม 1.3) การจัดอาสาสมัครชุมชนเฝ้าระวังปัญหา เข้าแทรกแซงเพื่อหยุดยั้งการกระทำ ความรุนแรง แจ้งเหตุต่อหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลโดยตรง ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นให้คำแนะนำ และส่งต่อในรายที่มีความรุนแรง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3