2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

26 2) การใช้กระบวนการควบคุมทางสังคม โดยให้บุคคลเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือ องค์การทางสังคม เพื่อให้บรรทัดฐานของกลุ่มหรือองค์การทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมคน นอกจากนี้ ควรสร้างความผูกพันทางสังคมไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมและกระตุ้นให้สมาชิกขององค์การได้ ดำเนินกิจกรรมร่วมกันมีการให้คำปรึกษาแนะนำและให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ 3) การจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่เฉพาะ โดยกระจายในทุกจังหวัดทั่วประเทศและมีการ ดำเนินงานแบบครบวงจร (One Stop Service) ตั้งแต่รับแจ้งเรื่อง ให้คำปรึกษา ให้การช่วย เหลือ ให้ที่พักตลอดจนการบำบัดและฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ และประสานงานหรือส่งต่อให้กับ หน่วยงานอื่น 4) การสนับสนุนการดำเนินงานขององค์การต่าง ๆ ที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้หญิง และเด็กที่เผชิญปัญหา เช่น องค์กรท้องถิ่น องค์การวิชาชีพ องค์การเอกชน 5) การสนับสนุนสถาบันการศึกษาในการผลิตบุคลากรด้านจิตวิทยา สังคมสงเคราะห์ จิตแพทย์ เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถในการให้คำปรึกษา แนะนำ บำบัดรักษาฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง รวมทั้งผู้กระทำความรุนแรง 6) การพัฒนากระบวนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องให้มี ความละเอียดอ่อนต่อมิติหญิงชายและไวต่อปัญหา มีทักษะในการระบุได้ว่าเป็นกรณีที่เกิดจากความ รุนแรง รวมทั้งจัดอบรมบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจปัญหาความรุนแรง ในครอบครัว และมีทักษะ ในการจัดการอย่างเหมาะสม 7) การกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกให้สังคมตระหนักถึงหน้าที่ในการแก้ปัญหาความรุนแรงใน ครอบครัว โดยรณรงค์ผลักดันเพื่อให้สังคมยอมรับว่า ความรุนแรงในครอบครัวมิใช่เรื่องส่วนตัวแต่เป็น เรื่องของสังคม 8) การรณรงค์เรื่องสิทธิมนุษยชนเพื่อยุติความรุนแรงและมุ่งเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับพฤติกรรมรุนแรงในครอบครัว 9) การรณรงค์ต่ อต้านความรุนแรงที่มีต่อ ผู้หญิงและเด็กทุก รูป แบบ ผ่านสื่อ แล ะ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ และช่วยสอดส่องดูแลเพื่อร่วมกันขจัดปัญหาความรุนแรงใน ครอบครัว 10) การให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการป้องกันและแก้ปัญหาความรุนแรงกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง แนะนำเผยแพร่แหล่งบริการให้ความช่วยเหลือทางสังคม ให้ข้อมูลทางเลือกในการแก้ปัญหา 11) การจัดบริการให้คำแนะนำปรึกษาในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาครอบครัวปัญหา ระหว่างสามี ภรรยา ปัญหาการเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น (ปกรณ์ มณีปกรณ์, 2550) แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาครอบครัวทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาครอบครัว ทฤษฎี ที่นำม าปรับ ใช้ ในก ารแก้ไขปั ญหา คือ "อริย สัจ 4" ห รือค วามจริงอั นประเส ริฐ 4 ป ระกา ร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3