2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

27 ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (1) ทุกข์ ซึ่งเป็นปัญหา (2) สมุทัย สาเหตุอันเป็นบ่อเกิดแห่งปัญหา (3) นิโรธ แก้ปัญหาหรือป้องกันปัญหาด้วยการใช้วิธีขจัดสาเหตุ หรือเปลี่ยนแปลงสาเหตุ และ(4) มรรค เป็นการเตรียมการให้เกิดความพร้อม เพื่อมีศักยภาพในการขจัดสาเหตุอันเป็นที่มาของปัญหา การใช้ ทฤษฎีอริยสัจ 4 ต้องนำกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหามาปฏิบัติโดย (1) กรรมวิธีป้องกัน ปัญหาอันเกิดจากกายภาพและจิตใจด้วยวิธีการอบรมทางสังคม หล่อหลอมสมาชิกสังคม ตั้งแต่วัยเด็ก ให้ได้เรียนรู้ และมีพฤติกรรมหรือสถานภาพบทบาทตามบรรทัดฐานขอ งสังคม และต้องใช้สิทธินุมัดิ ทางสังคม โดยสม่ำเสมอและเป็นแนวเดียวกันพร้อมทั้งการสังคมกรณ์ วิธีการขจัดความ ตึงเครียด หลังจากเกิดปัญหาครอบครัวแล้ว (2) กรรมวิธีป้องกันปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ เทคโนโลยี เพื่อเป็น "การตัดไฟแต่ต้นลม" ด้วยสิ่งที่เรียกว่า "การพัฒนา" และวิธีการแก้ปัญหาที่จักพึง มี (3) กรรมวิธีป้องกันการเสียระบบทางสังคม และวิธีขจัดปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับครอบครัว (4) กรรมวิธีป้องกันการเบี่ยงเบนที่เป็นเหตุของปัญหาครอบครัว และวิธีการขจั ดการเบี่ยงเบน (5) กรรมวิธีป้องกันไม่ให้โครงสร้างและกลไกทางสังคม เป็นสาเหตุขอ งครอบครัว (6) กรรมวิธี ตรวจสอบสาเหตุของปัญหาครอบครัว จากสาเหตุต่างๆ (7) เปลี่ยนแปลงสาเหตุต่าง ๆ ดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดผลหรือปัญหาครอบครัว และ(8) กรรมวิธีหล่อหลอมทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยมของ สมาชิกสังคมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นการควบคุมพฤติกรรมกลุ่มนั่นเอง (ปฐม ทรัพย์เจริญ, 2546) จะเห็นได้ว่า วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ให้ได้ผลและ ประสิทธิภาพ จะต้องแก้ไขจากสังคมที่มีความใกล้ชิดกับสังคมครอบครัวในแต่ละพื้นที่ นั่นคือ การป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวควรเริ่มต้นจากสังคมในระดับชุมชนโดยการสร้าง ความเข้มแข็งในระดับชุมชน จัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือ เยียวยา แก้ไข บำบัด ฟื้นฟู ให้ประชาชนในชุมชนอย่างทั่วถึงพร้อมทั้งให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการป้องกันและแก้ปัญหา ความรุนแรงในครอบครัว และบุคคลในครอบครัวนำหลักอริยสัจ 4 มาดำเนินชีวิตประจำวัน สามารถ ช่วยขจัดความรุนแรงในครอบครัวที่จะเกิดขึ้นได้ 2.3.4 สิทธิของผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว และผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแร งใน ครอบครัว ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ 2562 ได้ให้ คำนิยามของคำว่า บุคคลในครอบครัว ให้หมายความว่า ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตรบุญธรรม รวมทั้งบุคคลใด ๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน และให้คำนิยามของคำว่า ความรุนแรงในครอบครัว หมายความว่า การกระทำใด ๆ ที่บุคคลในครอบครัวได้กระทำต่อกันโดยเจตนาให้เกิดหรือในลักษณะ ที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ สุขภาพ เสรีภาพ หรือชื่อเสียง ของบุคคลใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3