2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
31 ครอบครัว จะต้องมีการจัดตั้งผู้นำศาสนาหรือล่ามแปลภาษาในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามที่กำหนด 2.3.5 ระบบการจัดการปัญหาความรุนแรงเกี่ยวกับครอบครัว องค์ก ารเพื่อส่ งเสริมค วาม เส มอภ าคระหว่า งเพศแ ละเพิ่มพลั งขอ งผู้ห ญิง แห่ ง สหประชาชาติ (UN Women) ได้ศึกษา แนวทางการประสานการทำงานร่วมกันในการแก้ปัญหา ความรุนแรงเกี่ยวกั บครอบครัว โดยศึกษาถึง การสำรวจ “การปฏิ บัติที่ดี” ต้นแบ บต่าง ๆ ที่ดำเนินการโดยองค์กรที่หลากหลาย ไม่ได้จำกัดเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ แต่ยังรวมถึงหน่วยงาน ภาคเอกชน และในระดับชุมชนด้วย และมีการพิจารณาภาพรวมของการปฏิบัติที่ดีในการดำเนินการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความรุนแรงเกี่ยวกับครอบครัว โดย เฉพาะอย่างยิ่งมีการกล่าวถึง การปฏิบัติที่รวมเอาระบบการจัดการปัญหาที่มีประสิทธิผลไว้ด้วยโดยศึกษาจากกฎหมายของประเทศ ประเทศ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา อินเดีย แอฟริกาใต้ แคนาดาและออสเตรเลีย เหตุผลที่เลือกประเทศ เหล่านี้เป็นเพราะ กฎหมาย นโยบายและแนวทางของประเทศเหล่านี้ ได้ถูกนำไปใช้เป็นแบบอย่าง ทั่วโลก ภายใต้วัตถุประสงค์ของการศึกษาขององค์การเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและ เพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีที่มีการดำเนินการใน ประเทศ จะถูกจัดแบ่งเป็นกลุ่ม ดังต่อไปนี้ 1. การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน (Inter-agency Coordination) มีความ จำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในด้านการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว จะต้องตกลงสร้างความเข้าใจให้ตรงกันในเรื่องความรุนแรงเกี่ยวกับครอบครัว และแนวทางการ ทำงานกับผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว จะต้องพัฒนาร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ประเด็นนี้ อาจเห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ทำงานด้านการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงใน ครอบครัว ร่วมกับตำรวจและอัยการ แต่อุปสรรคในทางปฏิบัติอีกหลายอย่างอาจเกิดขึ้นระหว่างการ ดำเนินการและก ารทำงานเป็นทีม โดย ต้นแบบก ารจัดก ารระหว่างหน่วย งาน (Inter-agency Response Model) เริ่มตั้งแต่ การจัดสรรอัตรากำลัง การติดตามผลคดี เป็นต้น ดังนั้น จึงจำเป็น ที่ต้องมีการคิดค้นแนวทางในการประสานงานและกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานให้ชัดเจน 1.1 แนวทางให้ชุมชนทำงานร่วมกัน (Community Partnering Approach) แนวทางนี้ จะกำหนดแผนงานความรุนแรงเกี่ยวกับครอบครัวอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ที่ พัฒนาขึ้นเพื่อชุมชน บทบาทและหน้าที่จะถูกกระจายไปให้แต่ละหน่วยของชุมชนตั้งแต่เริ่มแรก แผนการดำเนินงาน จะใช้ แนวทางทำงานร่วมกันเป็นหลัก ตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนไปจนถึงขั้นดำเนินการให้เป็นไปตามแผน แนวทางนี้ไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างการบริหารจัดการอย่างเป็นทางการ และส่วนใหญ่จะถูกใช้สำหรับ โครงการริเริ่มในระดับฐานราก เช่น โครงการต่อต้านความรุนแรงเกี่ยวกับครอบครัวของเมืองดูลูท (Duluth Domestic Abuse Intervention Programme – DAIP) หลักการที่เป็นแนวทางในการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3