2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

33 2. แนวทางที่เน้นผู้ผ่านพ้นความรุนแรง (Survivor-focused Approaches) แนวทางที่ เน้นไปที่การให้การสนับสนุนและทำให้หญิงที่ตกอยู่ในสถานการณ์ความรุนแรงกลับมามีพลัง และ สนองตอบความต้องการของพวกเธอนั้น อาจจัดว่าเป็นการปฏิบัติที่ดีที่เน้นไปที่การให้ความสำคัญกับ ตัวผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวให้มีที่อยู่อาศัยพักพิงและให้คำปรึกษาและให้บริการด้าน สุขภาพในเรื่องความรุนแรงเกี่ยวกับครอบครัว 3. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กระบวนการยุติธรรม (Strengthening the Justice System) กระบวนการยุติธรรมเป็นตัวเชื่อมที่ สำคัญในระบบการจัดการกรณีความรุนแรงเกี่ยวกับ ครอบครัว ผู้พิพากษาที่เข้าใจความต้องการของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ย่อม ตระหนักถึงความซับซ้อนของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และอาจเปลี่ยนแนวทางแทรกแซงที่เคยใช้กันมา ในคดีความรุนแรงเกี่ยวกับครอบครัว จะเห็นได้ว่า ระบบการจัดการปัญหาความรุนแรงเกี่ยวกับครอบครัวจากหลักการศึกษา องค์การเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ได้กล่าวถึงแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในระดับ ชุมชน โดยทำงานในรูปแบบการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชุมชนที่เกิด ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดตั้งสถานที่พักพิงอาศัยสำหรับผู้ถูกกระทำ ด้วยความรุนแรงในครอบครัว และจัดให้มีการให้คำปรึกษาโดยร่วมกันแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน ครอบครัว 2.4 ทฤษฎีเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบ ครัวตั้งแต่ที่มาของความรุนแรงในครอบครัว ผลกระทบจากการเกิดความรุนแรงในครอบครัวและการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวทั้ง ระดับสังคมและระดับชุมชน มีหลากหลายทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 2.4.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม อริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาชาวกรีกกล่าวว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” (Social animal) (ดำรง ฐานดี, 2544) เขาเชื่อว่ามนุษย์โดยสภาพ ธรรมชาติจะต้องมีชีวิตอยู่ร่วมกันกับบุคคล อื่น ๆ ติด ต่อสั มพันธ์ซึ่งกั นแล ะกัน ไม่ สามารถ ดำรงชีวิ ตได้อย่ างอิสระตามล ำพังแ ต่เพีย ง ผู้เดียวได้ เมื่อมนุษย์มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมสิ่งที่จำเป็นของการอยู่ร่วมกันเพื่อให้บุคคลในสังคมเข้าใจ ซึ่งกันและกัน คือ การเรียนรู้ทางสังคม ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม คือ ทฤษฎีที่ได้อธิบายวิธีการและ กระบวนการที่บุคคลได้รับอิทธิพลทางสังคมทำให้เกิดการยอมรับลักษณะและกฎเกณฑ์ทางสังคมมา เป็นลักษณะของตนทฤษฎีนี้ได้นำเอาหลักการเสริมแรง (Principle of ment) และหลักการเชื่อมโยง (Principle of association) มาใช้อธิบายปรากฎการณ์ในสังคม ซึ่งเน้นการเรียนรู้โดยบังเอิญและ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3