2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
34 การเลียนแบบเป็นสำคัญซึ่งทำให้บุคคลมีพฤติกรรมที่แปลกใหม่ หรือแตกต่างไปจากเดิมได้โดยง่าย ทฤษฎีนี้จะให้ความสำคัญแก่ลักษณะของสถานการณ์ซึ่งจะเป็นเครื่องกระตุ้นให้บุคคลกระทำ พฤติกรรมซ้ำ ๆ จนกลายเป็นลักษณะนิสัยของบุคคลนั้นในที่สุด สิ่งที่กระตุ้นให้บุคคลกระทำ พฤติกรรมต่าง ๆ ได้ก็คือ การหวัง ความพอใจ และการหลบหลีกความทุกข์ การเลียนแบบลักษณะ และการกระทำของบุคคลอื่น เป็นบ่อเกิดของการยอมรับลักษณะทั้งที่ดีและไม่ ดี จากบุคคลอื่นได้ อย่างง่าย และเกิดได้อย่างกว้างขวางในสถานการณ์ทั่วไป ตั้งแต่เด็กเลียนแบบบิดามารดา เลียนแบบ ดาราภาพยนตร์และการเลียนแบบมีความสำคัญมากขึ้น จากบทบาทของสื่อมวลชนในการปลูกฝัง จริยธรรมในโลกปัจจุบัน (ดวงเดือน พันธุมนาวิน & เพ็ญแข ประจนปัจจนึก, 2520) อัล เบิร์ต บั นดู รา (Albert Bandura) เป็ นนัก จิต วิท ย าบุ คลิ กภ าพที่ โด ดเด่ นแ ห่ ง ยุคสมัยปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมสังคมและความสามารถในการนึกคิดหรือการใช้ ซึ่งเป็น แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมแทบทุกด้านของมนุษย์ และเป็นตัวแปรที่สำคัญยิ่ง ในการหลอม บุคลิกภาพของบุคคลแนวคิดสำคัญของอัลเบิร์ต บันดูรา (Albert Bandura) ภายใต้ทฤษฎีการเรียนรู้ ทางสังคม (social learning theory) ดังนี้ 1.แนวคิดสังคม-ปัญญา แนวคิดของบันดูราที่เรียกว่า "สังคม -ปัญญา" หมายความว่า พฤติกรรมของมนุษย์และ บุคลิกภาพเกิดจากการปฏิสัมพันธ์อย่างเกี่ยวพันกันระหว่างสิ่งเร้าภายใน คือ ปัญญา ความคิด ความรู้ สิ่งเร้าภายนอกและสังคม การเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งด้านบวกและด้านลบขึ้นอยู่กับตัวแปรทั้งสอง 1.1 การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง-ประสบการณ์ทางอ้อม บันดูรามีฐานแนวคิดว่าการ เรียนรู้ครอบงำพฤติกรรมสำคัญเกือบทุกด้านของมนุษย์ 1.2 การสังเกตตัวแบบเพื่อศึกษาหรือเลียนแบบ (Modeling) มนุษย์มีความสามารถใน การสังเกตเหนือกว่าสัตว์โลกชนิดอื่น การสังเกตต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญา ไม่ใช่สัญชาตญาณ ในกระบวนการพัฒนาการของมนุษย์และสังคม เราใช้วิธีการสังเกตผู้อื่นเพื่อเรียนรู้และเลียนแบบ (Modeling) ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น การเรียนรู้หลายประการ เกิดจากการสังเกตเพื่อ เลียนแบบซึ่งมีประเด็นอื่น ๆ เกี่ยวกับการเลียนแบบ ดังต่อไปนี้ 1.2.1 บุคคลที่ไม่ค่อยเป็นตัวของตัวเองจะเลียนแบบบุคคล อื่นมากกว่าคนที่เป็นตัว ของตัวเอง 1.2.2 คนเลียนแบบบุคคลเพศเดียวกันมากกว่าต่างเพศ เช่น เขาพบว่าเด็กชาย เลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าวจากตัวแบบเพศชายมากกว่าเพศหญิง 1.2.3 คนที่มีความภูมิใจในตนเองต่ำหรือไม่ค่อยมีสมรรถภาพมักเลียนแบบคนเก่ง หรือคนที่ประสบผลสำเร็จมากกว่า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3