2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

36 ประจำทุกวัน โดยกระทำพฤติกรรมดังกล่าวต่อหน้าบุตรบ่อยครั้ง เมื่อบุตรเห็นการกระทำเช่นเดิม ซ้ำ ๆ กัน จนเกิดการซึมซับ อาจส่งผลให้บุตรมีพฤติกรรมที่มีความก้าวร้าว เพราะเกิดจากการสังเกต จนเกิดการเรียนรู้ และนำไปสู่การลอกเลียนแบบ หากมีพฤติกรรมการกระทำความรุนแรงเกิดขึ้น ในครอบครัว ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม สามารถป้องกันและลดการกระทำความรุนแรงใน ครอบครัวได้โดยการใช้จิตบำบัดในการแก้ไขพฤติกรรมได้ ซึ่งมีวิธีการดังนี้ ประการที่หนึ่งใช้ เทคนิค การสังเกตตัวแบบเพื่อเลียนแบบ อย่างเช่น หากมีบุคคลกระทำความรุนแรงในครอบครัว จะต้องได้รับ บำบัด ฟื้นฟู เยียวยาผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนา และคุ้มค รองส ถาบั นครอ บค รัว พ.ศ. 2562 เมื่อ บุค คลที่ กระทำค วามรุนแรงในครอบ ครัว ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ตนกระทำลงไป จะส่งผลให้บุคคลอื่นเห็นเป็นตัวแบบ และเกรงกลัวการกระทำ ความรุนแรงในครอบครัวได้ ประการที่สองใช้เทคนิคการควบคุมตนเอง โดยการเข้ารับการปรึกษาจาก นักจิตวิทยา เพื่อควบคุมอารมณ์และการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวขึ้น และ ประการที่สามเทคนิคใช้เครื่องมือที่เป็นสื่อสมัยใหม่ ในการเป็นสื่อกลางเข้ามาบำบัด อย่างเช่น การดูหนัง ฟังเพลง ร้องเพลง เพื่อลดอาการตึงเครียด ที่อาจนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งภายใน ครอบครัว 2.4.2 ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ ทาลคอตต์ พาร์สัน (Talcott Parsons) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นผู้นำทฤษฎีนี้ พาร์สันสมมติฐานว่า สังคมเหมือนกับอินทรีย์(สรีระ) อินทรีย์ทั้งหลายพยายามปรับตัวเพื่อให้เกิดความ สมดุล เช่นเดียวกับสังคม คือ ทุกสังคมพยายามสร้างความสมดุลและมีการปรับปรุงส่วนต่าง ๆ เพื่อให้ เกิดการยอมรับในสังคม ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ จึงเป็นทฤษฎีหนึ่งในกลุ่มทฤษฎีแห่งการสมดุล พาร์สัน เน้นการวิเคราะห์โครงสร้างและหน้าที่ โดยศึกษาสถานภาพ และบทบาทของปรากฎการณ์ ทางสังคมอย่างเป็นระบบหรือศึกษาสถานภาพและบทบาทของผู้ทำให้สภาพการณ์ทางสังคมกับ กระบวนการทางสังคมที่เกี่ยวข้อง ตามทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ สถาบันสังคมจะอยู่ได้ก็ เพราะ สมาชิกในสังคมมีการจัดระเบียบหรือมีการก ำห นดหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบั ติ (คือ สถานภาพ ) ตามตำแหน่งหรือฐานะในสังคมตามบทบาทที่ได้รับจากสังคม สังคมจึงมีการจัดระเบียบโดยมีสถาบัน หลัก สถาบันครอบครัว เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา ศาสนาและการนันทนาการ สถ าบันเหล่านี้ ย่อมมีความสัมพันธ์กันและมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อให้สังคมอยู่ได้อย่างปกติสุข ตัวอย่างที่เห็นได้ใน สังคมขนาดเล็ก ได้แก่ สถาบันครอบครัว มีหน้าที่อบรมสมาชิกในครอบครัวให้มีความรู้ มีระเบียบวินัย ในสังคมและให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เพื่อให้สามารถสนองความต้องการของสถาบันเศรษฐกิจ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2537) เช่น สมาชิกในครอบครัว มีสถานภาพเป็นบิดา มารดาและ บุตร โดยบิดามารดามีบทบาทและหน้าที่ในการอบรม เลี้ยงดูบุตร ส่วนบุตรมีบทบาทและหน้าที่ เชื่อฟังการอบรมสั่งสอนของบิดามารดา ศึกษาเล่าเรียน หากบุคคลทุกคนในครอบครัวรู้จักหน้าที่ รู้จัก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3