2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

37 สถานะของตน การเกิดข้อขัดแย้งภายในสังคมครอบครัวลดน้อย ลง ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นใน ครอบครัวลดน้อยลงตามไปด้วยเช่นกัน การจัดระเบียบสังคมตามทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ก็คือใน แต่ละสังคมจะรักษาความสมดุลได้เมื่อสถาบันในสังคมได้ทำหน้าที่อย่างสัมพันธ์กัน ตามระบบสังคม นั้น ๆ สมาชิกของสังคมจะได้รับการอบรมตามระบบคุณค่าของสังคม ระบบคุณค่าของสังคมอาจแยก ได้ เป็ น 4 ระบ บ คือ บ ทบ าท (role) กลุ่ ม ( group) ขนบ จารีต (norms) แล ะคุณค่า ( value) (ทิตยา สุวรรณชฏ, 2527) สมาชิกในสังคมที่ได้รับการศึกษาอบรมที่ดีมีความสามารถย่อมต้องมีความ รับผิดชอบและมีเกียรติในสังคมสูง ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ ศึกษาสถานภาพและบทบาทของคน ในสังคมที่ปฏิบัติตามหน้าที่ย่อมก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคมหรือเกิดบูรณาการทาง สังคม แม้จะมีฐานะชนชั้นในการทำให้เกิดระเบียบในสังคม แต่เป็นลักษณะของระบบสังคมที่มอง คุณค่าของคนตามหน้าที่และบทบาท ทำให้สังคมมีระบบและเกิดความต่อเนื่องอย่าง มีความสัมพันธ์ และสมดุลกัน ครอบครัวจะเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์แบบได้สมาชิกในครอบครัวทุกคนจะต้อง รู้บทบาทหน้าที่และสถานะของตน (จิรโชค วีระสย (ออนไลน์), 2561) สรุปได้ว่า สถานภาพ บทบาทและหน้าที่ของบุคคล เป็นสิ่งสำคัญที่มนุษย์ทุกคนมีติดตัวมา นับแต่คลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก มนุษย์ทุกคนที่มีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้จะต้องมีนสถานภาพ รู้จัก บทบาทและหน้าที่ของตน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 50 ได้กำหนดหน้าที่ของปวงชนชาวไทยที่พึงปฏิบัติ หากทุกคนปฏิบัติอยู่ในขอบเขตสถานภาพ บทบาท หน้าที่ของตน สังคมจะน่าอยู่และลดการทะเลาะเบาะแว้งได้อย่างมาก ครอบบครัวถือเป็นสังคมแรกที่ สร้างสถานภาพให้บุคคลเป็น บิดา มารดา บุตร ซึ่งบิดามารดา มีบทบาทหน้าที่ ในการอบรมเลี้ยง บ่มเพาะ ให้การศึกษาแก่บุตร ส่วนบุตรมีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียน อบรมเลี้ยงดูบิดามารดา ยามแก่เฒ่า หากบุคคลทุกคนในครอบครัวเข้าใจและรู้จักสถานภาพและบทบาทหน้าที่ของตน ความขัดแย้งที่อาจ ขึ้นภายในครอบครัวสามารถลดลงได้ และการปฏิบัติงานใด ๆ ภายในองค์กรให้มีความเข้มแข็งและ มีประสิทธิภาพมากที่สุดสิ่งที่สำคัญในการจัดรูปแบบให้สังคมในองค์กรนั้นมีความเป็นระบบที่ชัดเจน คือการจัดโครงสร้างและหน้าที่ของบุคลากรให้มีความโครงสร้างและหน้าที่ที่ชัดเจน 2.4.3 ทฤษฎีหน้าที่นิยม หน้าที่ หมายถึง การกระทำของมนุษย์ที่มีเจตนา การจงใจให้เกิดผล เช่น การเรียน การสอน การทำงาน เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาให้เกิดผลทั้งสิ้น และการกระทำ แต่ละอย่างจะต้องเกิดจากการคิดก่อน จึงเห็นได้ว่าการคิดกับเจตนาก็จะไปด้วยกันเราจึงอาจพูดว่า เจตนาเรียน เจตนาสอน หรือเจตนาทำงาน ทฤษฎีหน้าที่นิยมมีเนื้อหาสาระ ดังนี้ 1. ทฤษฎีนี้มององค์การสังคมว่าเป็นระบบสังคม (social system) โดยมีคนจำนวนหนึ่ง เป็นสมาชิกและกระทำการต่าง ๆ เมื่อองค์กรสังคมเป็นระบบสังคมแล้ว ระบบหรือองค์การสังคมก็

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3