2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
38 จะต้อ งเป็นตัวตนขึ้ นมา มีชื่อ มีที่อยู่ มีหน้าที่หรือความต้องการ หรือมีเป้ าห มาย มีการเกิ ด การเปลี่ยนแปลงพัฒนาหรือเสื่อมลง และจบสิ้นไป 2. ระบบสังคม อาจทำหน้าที่ เดียวหรือหลายห น้าที่ก็ได้ เช่น ครอบครัว โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น มีหน้าที่หลายอย่าง แม้ว่าแต่ละระบบมีหน้าที่หลักของตนในทางตรงกันข้าม สองระบบหรือมากกว่าอาจทำหน้าที่เดียวกัน เช่น ระบบที่ยกตัวอย่างมาต่างทำหน้าที่ให้การศึกษา แก่สมาชิกของระบบตน เป็นต้น ข้อเท็จจริงตรงนี้ชี้ให้เห็นว่าองค์กรใหญ่อาจมีหลายระบบย่อย หรือ องค์การย่อย และองค์การย่อยเหล่านี้ ย่อมมีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน 3. การเปลี่ยนแปลงในระบบหนึ่งย่อมมีผลต่ออีกระบบหนึ่งหรือกลับกันการจะพัฒนาหรือ เปลี่ยนแปลงองค์การสังคมให้ได้ผลต้องเปลี่ยนแปลงพัฒนาระบบย่อยต่าง ๆ ในองค์การสังคมนั้นไป พร้อมกัน ทฤษฎีหน้าที่นิยม คือ หน้าที่แจ้ง และหน้าที่แฝง หน้าที่แจ้ง หมายความว่า เป็นหน้าที่ที่ จงใจหรือตั้งใจให้เกิด เช่น หน้าที่ของบิดา มารดา คือ เลี้ยงดูบุตรให้เติบโตอยู่ได้ในสังคม หน้าที่บุตร คือ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน แล้วก็ได้ผลตรงตามที่ตั้งใจไว้ ส่วนคำว่า หน้าที่แฝง ได้แก่ ผลที่ไม่ได้ตั้งใจให้ เกิด หรือผลรองที่เกิดจากการทำหน้าที่หลัก เช่น การไปทำงานของข้าราชการแล้วไปพบรักและ แต่งงาน การพบรักและแต่งงานเป็นหน้าที่แฝง การเป็นกำนันแล้วเป็นผลให้ได้โครงการสร้างถนนเข้า ตำบล โครงการสร้างถนนก็เป็นหน้าที่แฝง ระบบสังคมย่อยมีความสัมพันธ์กันเป็นเครือข่าย แต่ละ หน่วยย่อยรวมทั้งระบบใหญ่ที่เป็นองค์การสังคมต่างมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ การปฏิบัติหน้าที่นี่เอง เป็นเหตุให้เกิดองค์การสังคมและทำให้องค์การสังคมดำรงอยู่ (สัญญา สัญญาวิวัฒน์, 2546) จากทฤษฎีข้างต้น สรุปได้ว่า หน้าที่ คือ สิ่งที่มนุษย์ทุกคนย่อมมีและต้องปฏิบัติหน้าที่ของ ตนตามสถานภาพในสังคม ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่หลักและหน้าที่แฝง สังคมใดจะเป็นระเบียบเรียบร้อยได้ บุคคลในสังคมนั้นจะต้องประพฤติปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้อยู่ในขอบเขตที่สังคมกำหนด หากการอยู่ ร่วมกันในสังคมมิได้มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของบุคคลไว้ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมย่อม ไม่เกิดขึ้นและการจะดำเนินงานใด ๆ ในองค์กรหรือหน่วยงาน หากองค์กรหรือหน่วยงานนั้น มิได้ กำหนดอำนาจหน้าที่ของบุคลากร ผลสัมฤทธิ์ของงานย่อมไม่เกิดขึ้น อย่างเช่น การควบคุม ป้อง กัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว หากหน่วยงานที่เข้ามามีส่วนร่วมกันในการแก้ไข มิได้ กำหนดอำนาจหน้าที่ของบุคคลากรที่ปฏิบัติงาน ย่อมเกิดความสับสนและความสำเร็จของงานอาจไม่ ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ฉะนั้น การรู้หน้าที่ของบุคคลย่อมมีความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันใน สังคมและแปรผันกับความสำเร็จที่จะเกิดขึ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3