2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
40 จากทฤษฎีที่กล่าวมาข้างต้น มีทฤษฎีที่สอดคล้องกับความรุนแรงในครอบครัวมาสนับสนุน การควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ตั้งแต่เหตุที่ก่อให้มีความรุนแรงเกิดขึ้น จนกระทั่งวิธีการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในสังคมระดับชุมชนที่เป็นสังคมที่ใกล้ชิด ครอบครัวมากที่สุด 2.4.5 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของชิกมันด์ ฟรอยด์ กล่าวว่า พฤติกรรมที่แสดงออกถึงความ ต้องการ ความพึงพอใจทางเพศและความก้าวร้าวนั้น สามารถสังเกตเห็นได้จากพฤติกรรมของเด็ก ตั้งแต่แรกเกิด อย่างเช่น ความต้องการ ความพึงพอใจทางเพศนั้น เด็กแสดงออกในลักษณะของความ พึงพอใจเมื่อตนเองได้กระตุ้นส่วนที่ไวต่อความรู้สึกของร่างกาย เช่น ปาก อวัยวะเพศ หรือทวารหนัก เป็ นต้ น ส่ว นคว ามก้ าวร้าวนั้นก็ อาจจะแ สดงพฤ ติกรรมออ กในลัก ษณะข องก ารใช้ค ำพูด หยาบคาย กัด ต่อย หรือตี เป็นต้น (ยศ สันตสมบัติ, 2550) และเมื่อผู้ปกครองทำให้เด็กรู้ว่าการ แสดงออกซึ่งความต้องการความพึงพอใจทางเพศ และความก้าวร้าวนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม โดยการ ลงโทษต่อพฤติกรรมที่แสดงออกที่ไม่เหมาะสม การแสดงออกเพื่อตอบสนองต่อแรงขับนี้ก็จะถูกเก็บ กดเอาไว้ แทนที่จะหาทางออกทางอื่นที่เหมาะสมในระดับของจิตสำนึก การเก็บกดจะฝังอยู่ในจิตใต้ สำนึก จึงทำให้คนเราตื่นตัวอยู่กับแรงขับจากจิตใต้สำนึก และเมื่อพิจารณาถึงระดับของความเก็บกด จะพบได้ว่าความต้องการความพึงพอใจทางเพศได้รับการเก็บกดมากกว่าความก้าวร้าวนั่นอาจเป็น เพราะว่าสังคมยอมรับการแสดงซึ่งความก้าวร้าวได้มากกว่าการแสดงออกทางเพศก็ได้ แต่อย่างไรก็ ตาม การแสดงออกเพื่อตอบสนองความต้องการของแรงขับทั้ง 2 ประเภทนี้ จะทำให้เด็กเกิดความ วิตกกังวลมาก เนื่องจากทัศนคติทางลบต่อการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวของผู้ปกครองนั่นเอง แรงขับจิตใต้สำนึกก็จะต้องหาทางแสดงออกในรูปแบบที่บิดเบือนออกไป เพื่อที่จะสนองความต้องการ ของแรงขับนั่นเอง แนวคิดของแรงขับจิตใต้สำนึกจัดได้ว่าเป็นหลักของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ (ต้องรัก จิตบรรเทา, 2560) ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าในขั้นแรกผู้ปกครองควบคุมพฤติกรรมของเด็ก โดยผ่านกระบวนการให้รางวัลและการลงโทษ ซึ่งการกระทำเช่นนั้นเป็นการบ่งชี้ถึงมาตรฐานของ ผู้ปกครอง อันนำไปสู่การพัฒนาซูเปอร์อีโก้ของเด็ก จนในที่สุดเด็กจะสามารถควบคุมตนเองได้ ในเวลาต่อมาเด็กไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับการบอกว่าการขโมยเป็นสิ่งที่ผิด แต่ซูเปอร์อีโก้ของเขาจ ะ บอกเขาเอง (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2548) ดังนั้น จากทฤษฎีข้างต้น กล่าวโดยสรุปได้ว่า ตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลทุกคนไม่ว่าจะ เป็นวัยเด็กหรือวัยผู้ใหญ่ ตัวแปรสำคัญของการแสดงพฤติกรรมใด ๆ ออกมาคือ จิตใต้สำนึก บุคคลมี จิตใต้สำนึกอย่างไร พฤติกรรมที่แสดงออกมาจะมีลักษณะเช่นนั้น อย่างเช่น หากบุคคลที่การกระทำ ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส จะต้องรับโทษตาม มาตรา 297 ประมวลกฎหมายอาญาเมื่อบุคคลนั้นได้รับโทษในครั้งแรกของการกระทำ ครั้งต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3