2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
41 บุคคลนั้นอาจไม่กระทำความผิดดังกล่าวอีก เนื่องจาก จิตใต้สำนึกสั่งการว่า หากกระทำอีกจะได้รั บ โทษอย่างครั้งแรก การกระทำความรุนแรงในครอบครัวก็เช่นกัน หากมีมาตรการบังคับที่เข้มงวด บุคคลที่กระทำความรุนแรงในครอบครัวจะเกรงกลัว จนเป็นเหตุให้ลดการกระทำดังกล่าว 2.4.6 ทฤษฎีป้องกันสังคมกับการแก้ไข ฟื้นฟู ผู้กระทำความผิด มาร์ค อังเซล อธิบายว่าแนวคิดของการป้องกันสังคม ครอบคลุมนโยบายทางสังคมเชิงรุก และการป้องกันสังคมซึ่งมุ่งหมายคุ้มครองสังคมโดยคุ้มครองผู้กระทำความผิด ลักษณะของทฤษฎี ป้องกันสังคม มาร์ค อังเซล ได้จำแนกคุณลักษณะของการป้องกันสังคมไว้ ดังต่อไปนี้ 1) การป้องกันสังคมมีสมมติฐานว่าวิธีการจัดการกับอาชญากรรมนั้นควรถูกสร้างขึ้นอย่าง เป็นระบบโดยมีจุดมุ่งหมายซึ่งไม่ใช่การลงโทษความผิด แต่มุ่งคุ้มครองสังคมจากการกระทำความผิด อาญา อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีป้องกันสังคมไม่ได้สร้างทฤษฎีเดี่ยวขึ้นแทนที่ทฤษฎีกฎหมายอาญาและ อาชญาวิทยาที่มีอยู่ทั้งหมดแต่ประการใด แต่เป็นความเคลื่อนไหวอันหนึ่งที่หาหนทางที่จะนำเอา ทฤษฎีและความคิดที่ทันสมัยซึ่งกระจัดกระจายอยู่มารวมเข้าด้วยกัน และหาทางแก้ไขปัญหา อาชญากรรมด้วยวิธีการใหม่ ๆ ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มและสถานการณ์ของโลกในยุคปัจจุบัน 2) การสร้างนโยบายทางอาญาขึ้นใหม่เพื่อแทนที่ระบบการลงโทษแบบแก้แค้นทดแทน ทฤษฎีป้องกันสังคมเห็นว่าวิธีการลงโทษในรูปแบบเดิม ๆ โดยเน้นระบบการลงโทษแบบแก้แค้น ทดแทนนั้นไม่ใช่หนทางที่จะหยุดยั้งการกระทำความผิดอย่างได้ผล ด้วยเหตุนี้ทฤษฎีป้องกันสังคมจึง ต่อต้านกฎหมายอาญาที่ใช้วิธีก ารปราบปรามที่รุนแรงหรือมิฉะนั้นก็สนับสนุนการใช้วิธีการซึ่งไม่ไช่ กฎหมายอาญา ไม่ว่าโดยวิธีการแยกผู้กระทำความผิดออกจากกลุ่ม หรือการใช้วิธีการรักษาเยียวยา หรือการศึกษา เพราะฉะนั้น นโยบายทางอาญาจึงให้ความสำคัญแก่วิธีการดำเนินการกับปัจเจกบุคคล มากกว่าส่วนรวมโดยมุ่งที่การป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิด 3) กระบวนการของการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมตามแนวคิดของทฤษฎีป้องกันสังคม จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ของปรากฎการณ์อาชญากรรม และเห็น ความสำคัญของการใช้การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ผนวกกับความร่วมมือของบุคลากรในวิทยาการต่าง สาขาเพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและแก้ไขฟื้นฟูอาชญากร ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะต้อง พึ่งพาอาศัยทรัพยากรบุคคลในรูปแบบของสหวิชาชีพเพื่อสร้างระบบฟื้นฟูแก้ไขผู้กระทำความผิด 4) กระบวนการกลับคืนเข้าสู่สังคมของผู้กระทำความผิดจะเกิดขึ้นได้ก็โดยการส่งเสริมให้มี เมตตาธรรมหรือมนุษยธรรม ในกระบวนการแก้ ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด (ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน (ออนไลน์), 2554) ความมีมนุษยธรรมในกระบวนยุติธรรมทางอาญาไม่ใช่เพียงแค่ความเคลื่อนไหว ทางมนุษยธรรมแต่กระบวนการจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจลักษณะส่วนบุคคลของ ผู้กระทำความผิดประกอบด้วย ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การเรียกความมั่นใจในตนเองของผู้กระทำความผิด แต่ต้องสร้างความรู้สำนึกรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในตัวของผู้กระทำความผิดเองและสร้างความสำนึกใน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3