2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

42 คุณค่าของความเป็นมนุษย์ของผู้กระทำความผิดด้วย ดังนั้นผู้กระทำความผิดจึงต้องร่วมมือด้ว ยในการ แก้ไขปัญหาอาชญากรรม ในมิติเช่นว่านี้จะเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้กระทำความผิดในฐานะที่เป็น มนุษย์ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในขั้นตอนของการถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหรือถูกพิพากษาลงโทษแล้วก็ ตาม (อุทัย อาทิเวช, 2559) ดังนั้น จากทฤษฎีข้างต้นเกี่ยวกับการป้องกันสังคมกับการแก้ไข ฟื้นฟู ผู้กระทำความผิด กล่าวโดยสรุปได้ว่า ตามประมวลกฎหมายอาญมาตรา 18 กำหนดโทษทางอาญาไว้ห้าสถานสำหรับ ลงโทษผู้กระทำผิด ดังนี้ 1.ประหารชีวิต 2.จำคุก 3.กักขัง 4.ปรับ และ5.ริบทรัพย์สิน แม้ในปัจจุบัน การกำหนดบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาไม่สามารถนำมาใช้ได้กับคดีทุกประเภท อย่างเช่น คดีความรุนแรงในครอบครัว คดีเยาวชนและครอบครัว เนื่องจาก เรื่องภายในครอบครัวเป็นเรื่องที่มี ความละเอียดอ่อน การจะแก้ปัญหาเรื่องภายในครอบครัวจะต้องแก้โดยการให้ครอบครัวกลับมามี ความสมานฉันท์กันเช่นเดิม การนำบทลงโทษมาใช้ในการแก้ปัญหาจึงไม่มีความเหมาะสมกับ พฤติการณ์ที่เกิดขึ้นจึงเห็นควรนำมาตรการแก้ไข ฟื้นฟู มาใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าว จะมีความ เหมาะสมยิ่งกว่ากฎหมายประเทศไทยจะมีการลงโทษผู้กระทำความผิดไว้ แต่ยังคงมีผู้กระทำความผิด ในจำนวนมาก 2.4.7 กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ หมายความว่า การอำนวยความยุติธรรมที่ต้องการทำให้ทุกฝ่ายซึ่ง ได้รับผลกระทบได้กลับคืนสู่สภาพดีดังเดิม อันเป็นการสร้างความสมานฉันท์ ในสังคม โดยมีหลักการ สำคัญว่า การกระทำความผิดอาญาเป็นเรื่องที่ละเมิดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและละเมิดกฎหมาย ของรัฐตามลำดับ การทำให้ทุกฝ่ายกลับคืนสู่สภาพดีดังเดิมจึงต้องฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างบุคคล คู่กรณีและชุมชนเป็นลำดับแรก ซึ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้องและมีอยู่แล้วในขนบธรรมเนียม ประเพณีและ วัฒนธรรมของสังคมโลกและสังคมไทย ลักษณะสำคัญของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ มี 2 ประการ คือ 1) กระบวนการที่จะทำให้เกิดความสมานฉันท์ รูปธรรมเชิงสมานฉันท์ คือ ต้องเป็น กระบวนการที่จะทำให้เกิดความสมานฉันท์ทำให้เกิดการฟื้นฟู โดยมีหลักการว่าควรเป็นกระบวนการ ที่ไม่เป็นทางการ ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้มาพบกันในบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดความปรอง ดอง ส่งเสริมให้ผู้กระทำผิดได้สำนึกผิด ได้ชดใช้ ส่งเสริมให้ชุมชนได้มีโอกาส เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง 2) ผลลัพธ์ที่ก่อให้เกิดความสมานฉันท์ เป็นหัวใจสำคัญผลลัพธ์ที่จะได้จากกระบวนการ ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ คือ การแสดงความสำนึกการยินยอมที่จะปรับพฤติกรรม การชดใช้เยียวยาที่ ผู้กระทำผิดพร้อมที่จะชดใช้ให้กับผู้เสียหาย ซึ่งอาจจะเป็นเงิน การบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะหรือ อื่น ๆ แล้วแต่กรณี(จุฑารัตน์ เอื้ออํานวย, 2556)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3