2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
44 ข้อเสีย 1) ต้องเร่งพัฒนาบุคคลากรที่มีอ ำนาจในการไกล่เกลี่ยระหว่างผู้กระทำความผิดและ ผู้เสียหาย 2) ผู้กระทำความผิดอาจไม่มีความเข็ดหลาบกับการกระทำความผิดที่เกิดขึ้น(บัณฑิต โต้ ทองดี, 2555) ดังนั้น จากทฤษฎีข้างต้น โดยสรุปได้ว่า คดีความรุนแรงในครอบครัว เป็นคดีระหว่าง บุคคลในครอบครัว ที่มีความใกล้ชิดสนิท สนมกัน การจะนำกระบวนการดำเนินคดีอาญามาลงโทษ ผู้ก ระท ำคว าม รุนแ รงในค รอ บ ค รัว จึง ไม่มีค ว าม เห ม าะส มใ นก า รแ ก้ ไข ปั ญห าดั งก ล่ า ว การดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัวจะต้องการดำเนินกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ โดยการ แก้ไข บำบัด ฟื้นฟู ปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อให้ครอบครัวกลับมาอยู่อาศัยร่วมกันเป็นครอบครัวกันเช่นเดิม และการจะดำเนินกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ให้ได้ผลที่สุด จะต้องได้รับความร่วมมือจาก บุคลากรในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะในบุคลากรในระดับชุมชนเพราะ สามารถเข้าถึง เข้าใจ รู้ปัญหา ของบุคคลในชุมชนได้อย่างชัดเจน และสามารถแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู ได้ตรงประเด็นที่สุด ภาพที่ 4 สถิติคดีพิพากษาแล้วเสร็จของศาลชั้นต้น ย้อนหลัง 5 ปี (ที่มา : ศาลยุติธรรม. 2564) จะเห็นได้ว่า ในปี พ.ศ. 2563 จนถึง พ.ศ. 2564 สถิติคดีพิพากษาแล้วเสร็จในศาลมี จำนวนคดีน้อยกว่าปีก่อนหน้า เนื่องจาก ศาลเริ่มมีการนโยบายการไกล่เกลี่ย เพื่อการประนีประนอม ข้อพิพาทมาใช้แทนการออกคำพิพากษาเพิ่มมากขึ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3