2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
45 2.4.8 หลักนิติรัฐในการบังคับใช้กฎหมาย หลักนิติรัฐ (Legal State) หรือ Rechtsstaat ซึ่งในภาษาเยอรมนีนั้นเป็นคำศัพท์ที่เกิดขึ้น ในประเทศที่ใช้ ภาษาเยอรมนี (สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศออสเตรีย และบางส่วนของ ประเท ศสวิต เซอ ร์แลนด์) เป็ นค ำศัพท์ที่รู้จักกั นดีในศต วรรษ ที่ 19 ในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1848 เป็นหลักพื้นฐานแห่งกฎหมายที่สำคัญของประเทศในภาคพื้นยุโรปโดยเฉพาะใน ประเทศเยอรมนีเป็น หลัก หรือในภาษาฝรั่งเศสจะเรียกว่า “L’Etat de Droit” และหลักนิติรัฐซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Legal State” นับแต่อดีตมีการให้คำนิยามคำศัพท์ และให้ความหมายของคำว่านิติรัฐอย่างมาก ตามแนวความคิดของ ผู้เชี่ยวชาญทั้งในต่างประเทศ และประเทศไทย ซึ่งแต่ละท่านมีความ หลากหลาย และสอดคล้องกัน จึงขอนิยามค ำศัพท์ และความหมายบางท่านดังต่อไปนี้ โรเบิร์ต ฟอง มอล (Robert Von Molh) กล่าวว่า นิติรัฐ คือ รัฐแห่งความมีเหตุผลอันเป็นรัฐที่ปกครองตาม เจตจำนงโดยรวมที่มีเหตุผล และมีวัตถุประสงค์เพื่อสิ่งที่ดีสำหรับคนในสังคม เป็นการทั่วไปจากการให้ ความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่านิติรัฐ คือ รัฐที่ปกครองโดยหลักแห่งเหตุผลเพื่อให้การอาศัยอยู่ร่วมกัน ของมนุษย์ เป็นไปได้ด้วยความสงบสุข (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2561) หลักนิติรัฐ (Legal State) เป็นแนวความคิดที่มีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน โดยแก่นแท้ อันเป็นสาระสำคัญของนิติรัฐ คือ การปกครองโดยกฎหมายที่จะไม่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองใช้อำนาจ ตามอำเภอใจ อันมีผลเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เมื่อพิจารณาถึง พัฒนาการของหลักนิติรัฐแล้ว พบว่า หัวใจของหลักนิติรัฐมีขึ้นเพื่อจำกัดอำนาจของรัฐหรือผู้ปกครอง ให้อยู่ภายในขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าหลักนิติรัฐมีองค์ประกอบสอง ส่วน คือ องค์ประกอบในทางรูปแบบ และองค์ประกอบในทางเนื้อหา อีกทั้งรัฐจะต้องมีหลักประกัน สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของราษฎรโดยกำหนดให้ บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพมีค่าบังคับในระดับ รัฐธรรมนูญ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์, 2553) แนวความคิดว่าด้วย “นิติรัฐ” หรือรัฐที่ดำเนินไปภายใต้กฎหมายวางอยู่บนพื้นฐานของการ จำกัดอำนาจของผู้ปกครอง การรับรอง และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอันเป็นหัวใจของ พัฒนาการของรัฐในยุคสมัยใหม่ และถือเป็นผลิตผลทางการเมืองการปกครองภายใต้หลักกฎหมาย หลักนิติรัฐ จึงถือเป็นผลพวงของความปรารถนาพื้นฐานของมนุษย์ในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคลและ สม าชิก ในประชาคมมนุษ ย์ที่ ไข ว่ค ว้าห าค วาม ยุติ ธรรมแ ละคว ามแ น่นอ นข อง กฎ ห มาย (บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ , 2553) โดยหลักการพื้นฐานที่เป็นหัวใจสำคัญที่เป็นรากฐานของหลักนิติรัฐ 3 ประการ ดังนี้ ประการแรก รัฐที่เป็นนิติรัฐนั้น กฎหมายเป็นหัวใจส ำคัญของการดำรงอยู่ของรัฐ กฎหมายเป็นหลักพื้นฐานและเป็นแบบแผนชีวิตสาธารณะของรัฐ ประการที่สอง ซึ่งเป็นองค์ประกอบ ที่ขาดเสียมิได้ของการเป็นนิติรัฐ คือ การที่รัฐนั้น ๆ จะต้องมีการแบ่งแยกองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ ทำหน้าที่ในด้านต่าง ๆ จากกัน และมิให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่ ในฐานะที่เหนือกว่าที่กฎหมาย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3