2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
46 กำหนดไว้ จนสามารถดำเนินการอย่างใดก็ได้ นอกจากนั้นอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของรัฐ นั้นจะต้องมีอยู่อย่างจำกัดตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ประการที่สาม ที่เป็นหลักการพื้นฐานของนิติรัฐ คือ ในรัฐที่เรียกตัวเองว่าเป็นรัฐที่ปกครองโดย กฎหมายนั้น จะต้องมีระบบองค์กรตุลาการที่มีความ เป็นอิสระคอยทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบการใช้อ ำนาจ และการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย (สามารถ ตราชู, 2560) อีกทั้ง ศาสตราจารย์ชาญชัย แสวงศักดิ์ (2553) ได้อธิบายการแบ่งแยกสาระส ำคัญของ หลักนิติรัฐ ไว้ 3 ประการ ดังนี้ ประการที่หนึ่ง หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำขององค์กร ของรัฐฝ่ายบริหาร(ฝ่ายปกครอง) หลักการนี้ เรียกร้องให้บรรดาการกระทำทั้งหลายขององค์กรของรัฐ ฝ่ายบริหาร (ฝ่ายปกครอง:หน่วยงานทางปกครอง:หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ) จะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ ตราขึ้น โดยองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติเพราะองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะมีอำนาจสั่งการให้บุคคล กระทำการหรือละเว้นไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ได้ก็ต่อเมื่อมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำนาจ ไว้ชัดแจ้ง และจะต้องใช้อำนาจนั้นภายในกรอบที่กฎหมายก ำหนดไว้ ประการที่สอง กฎหมาย ทั้งหลายที่องค์กรฝ่ายบัญญัติตราขึ้นจะต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญหลักการนี้เรียกร้องให้บรรดา กฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้นต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และเรียกร้องให้อำนาจองค์กรของรัฐฝ่าย บริหารจะกระทำการใดล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของราษฎรได้นั้น ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ให้องค์กรใดมีอำนาจล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของราษฎรได้ในกรณีใดและภายในขอบเขตใด และกฎหมาย ดังกล่าวจะต้องไม่ให้อำนาจแก่องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารล่วงล้ำเข้าไปในแดนแห่งสิทธิเสรีภาพของ ราษฎรเกินขอบเขตแห่งความจำเป็นเพื่อดำรงไว้ซึ่งผลประโยชน์สาธารณะ และประการที่สาม องค์กร ของรัฐฝ่ายตุลาการมีอำนาจในการควบคุมไม่ให้การกระท ำขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารขัดต่อ กฎหมายและควบคุมไม่ให้การกระทำขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญซึ่ง องค์กรฝ่ายตุลาการที่ทำหน้าที่เช่นว่านี้แยกต่างหากจากองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ ซึ่งท ำหน้าที่ พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาก็ได้ (ชาญชัย แสวงศักดิ์, 2553) จะเห็นได้ว่า หลักนิติรัฐ เป็นหลักที่ประชาชนทุกคนในประเทศไทยจะต้องยึดถือและปฏิบัติ ตาม ซึ่งการจะกระทำการใด ๆ จะต้องมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจในการกระทำนั้น ๆ หากการใด ไม่ มีกฎหมายให้อำนาจไว้ การนั้นไม่สามารถกระทำลงได้ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ภายในรัฐก็เช่ นกัน จะต้องมีกฎหมายกำหนดโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ไว้ตามกฎหมายอย่างชัดเจน เจ้าหน้าที่จึงจะ สามารถปฏิบัติการนั้น ๆ ได้อย่างเต็มที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3