2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

50 บทบาทหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับหรือในการให้บริการในระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขัน มีสมรรถนะสูง ยึดหลักธรรมาภิบาลปรับวัฒนธรรมการทำงานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ ส่วนรวม มีความทันสมัย และพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา และ ลดความเหลื่อมล้ำและเอื้อต่อการพัฒนาโดยกระบวนการยุติธรรมมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เป็น ธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และการอำนวยความยุติธรรมตามหลักนิติธรรม (สำนักงานเลขานุการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2561) จะเห็นได้ว่ายุทธศาสตร์ชาติทั้งหกด้านได้กำหนดแนวทางในการควบคุม ป้องกันและแก้ไข ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวไว้อย่างรอบด้าน ซึ่งตามยุทธศาสตร์ชาติได้มีการกำหนดให้มีการ ส่งเสริมครอบครัวให้มีความอบอุ่น และเข้มแข็งโดยได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน และบุคคลในชุมชนร่วมกัน เนื่องจากมีการส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการสร้างสุขภาวะที่ดีในทุก พื้นที่ หากมีปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นในชุมชนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจะต้อง เข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อ ลดปัญหาที่ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา สุขภาวะของบุคคลในสังคม ตามยุทธศาสตร์ชาติที่สาม และเพื่อลดปัญหาความเลื่อมล้ำในสังคม บุคคลทุกคนจะต้องสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างทั่วถึง และ จัดให้มีการพึ่งตนเองและ การจัดการตนเองโดยการส่งเสริมการปรับพฤติกรรมในระดับครัวเรือน ให้มีความสามารถในการ จัดการวางแผนชีวิต สุขภาพ ครอบครัว การเงินและอาชีพ โดยใช้ข้อมูลความรู้ และการยกระดับการ เรียนรู้ของครัวเรือน ตามยุทธศาสตร์ชาติที่สี่ และยุทธศาสตร์ชาติที่หก หากในสังคมสามารถควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวได้ ส่งผลให้สังคมนั้นมีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ ครอบครัวมีความมั่นคงและเข้มแข็งในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านความปลอดภัยในครอบครัว ด้านอาชีพ ด้านรายได้ เป็นต้น ตามยุทธศาสตร์ชาติหนึ่ง ยุทธศาสตร์ชาติสองและยุทธศาสตร์ชาติห้า 2.5.2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) มีสถานะเป็น แผนระดับที่ 2 ซึ่งเป็นกล ไกที่สำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ และใช้เป็นกรอบ สำหรับการจัดทำแผนระดับที่ 3 เพื่อให้การดำเนินงานของภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องสามารถ สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 เริ่มต้น ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ครอบคลุมปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2570 ซึ่งเป็นระยะ 5 ปีที่สอง ของยุทธศาสตร์ชาติ ในการกำหนดทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ให้ประเทศสามารถก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ เพื่อให้ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ตามเจตนารมณ์ของ ยุทธศาสตร์ชาติ ได้อาศัยหลักการและแนวคิด 4 ประการ ดังนี้ ประการที่หนึ่ง หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง โดยสืบสาน รักษา ต่อยอดการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3