2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

52 ประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีในการยกระดับผลิตภาพในภาพรวมให้สามารถผลิตสินค้าและบริการ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นได้ในระยะเวลาที่สั้นลง โดยการลงทุนวิจัยและพัฒนาต่อยอดจากองค์ความรู้เดิม เพื่อสร้างนวัตกรรมให้เกิดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของไทยที่เน้นคุณค่าและความยั่งยืน ประการที่ส อง บ ริบทก ารพัฒนาประเทศในมิติด้านสังค มแ ละท รัพยากรมนุษย์ การกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่เท่าเทียมของประเทศไทยก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำใน หลายมิติ ทั้งในส่วนของความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ ความเหลื่อมล้ำในการ เข้าถึงบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ ปัญหาความเหลื่อมล้ำในหลายมิติของประเทศไทยถูกฉายภาพให้ เด่นชัดและทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดขอ ง เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยพบว่าคนจนและผู้ด้อยโอกาสได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง มากกว่าประชากรทั่วไป เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวไม่มีเงินออมและขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน มีโอกาสถูกเลิกจ้างงานได้ง่าย อีกทั้งยังมีความเสี่ยงทางสุขภาพสูงจากการใช้บริการขนส่งสาธารณะ และการมีที่อยู่อาศัยที่มีสภาพแออัดไม่ถูกสุขลักษณะ บริบทและสถานะของทุนทางสังคมของประเทศ ไทยดังกล่าว บ่งชี้ให้เห็นว่าในช่วงระยะเวลาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ประเทศไทยต้องให้ ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างเพื่อมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม ด้วยการ กระจายโอกาส สร้างความเสมอภาคและลดความเหลื่อมล้ำทั้งในเชิงรายได้ ความมั่งคั่ง เชิงพื้นที่ และ โอกาสในการแข่งขันของภาคธุรกิจโดยการกระจายการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและเมือง ประการที่สาม บริบทการพัฒนาประเทศในมิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยมีทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีซึ่งเป็นพื้นฐานที่ส ำคัญต่อการพัฒนา เศรษฐกิจที่ยั่งยืนและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน การเปลี่ยนผ่านเชิงโครงสร้างจากการเน้น ผลทางเศรษฐกิจระยะสั้นไปสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืน แนวทางสำคัญสำหรับการพัฒนาทุนทาง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระยะต่อไป คือ การพัฒนาประเทศในอนาคตจะไม่สามารถแยก ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมออกจากการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมได้อีกต่อไป จึงต้อง กำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนในการมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพื่อลดการใช้วัตถุดิบและลดของเสียจากกระบวนการผลิต เพื่อ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและแก้ปัญหาการใช้ทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ประโยชน์จากองค์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทย บน พื้นฐานของการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดของทุกภาคส่วน โดยอาศัยกลไกและมาตรการ สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกิดการลงทุนสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มมาก ขึ้น ประการที่สี่ บริบทการพัฒนาประเทศในมิติด้านการบริหารจัดการภาครัฐ การพัฒนาการ บริหารจัดการภาครัฐเพื่อส่งเสริมทุนทางสถาบันของประเทศไทยในระยะเวลาของแผนพัฒนา ฯ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3