2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

53 ฉบับที่ 13 เน้นการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของการบริหารจัดการภาครัฐให้สามารถ ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรมและทันต่อสถานการณ์ โดยเร่งปรับตัว ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถให้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐานแก่ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียม มีการเชื่อมโยงจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นได้อย่างมีบูรณาการ และมี หลักธรรมาภิบาล เพื่อรักษา เสถียรภาพทางสังคมและฟื้นฟูความเชื่อมั่นในรัฐ เป็นการเสริมสร้างทุนทางสถาบันของประเทศ ซึ่งการปฏิรูปภาครัฐเป็นประเด็นท้าทายที่ส ำคัญของไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ คนในสังคมส่วนใหญ่มีความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชน ภาครัฐจึงต้องเร่งพัฒนากลไกทางสถาบันที่ เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและให้มีการปรับระบบการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลภาครัฐ โดย ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะที่จำเป็นในการให้บริการภาครัฐแบบดิจิทัล รวมถึง ยกเลิกกฎหมายที่ล้าสมัยหมดความจำเป็น พร้อมกับการพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบให้เอื้อต่อการ พัฒนาประเทศในอนาคตเพื่อให้ประเทศไทยมีภาครัฐที่มีสมรรถนะ ทันสมัย คล่องตัว และตอบโจทย์ ประชาชน สามารถเป็นปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศได้อย่างแท้จริง จากหลักเกณฑ์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 ข้างต้น สรุปได้ว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนา แล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และให้ความสำคัญกับการยกระดับ คุณภาพและประสิทธิภาพของการบริหารจัดการภาครัฐให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของ ประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรมและทันต่อสถานการณ์ โดย เร่งปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถให้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐานแก่ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมมีการเชื่อมโยงจาก ส่วนกลางสู่ท้องถิ่นได้อย่างมีบูรณาการ เสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ในระดับครอบครัว จนถึงระดับประเทศ รวมถึงปรับทิศทาง รูปแบบ และแนวทางการพัฒนาให้ สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่โดยการนำเทคโนโลยีมาปฏิบัติงานในภาครัฐเพื่อ การปฏิบัติงานที่ทันสมัย สะดวกและรวดเร็ว และให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้าง หากมีปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นในสังคมใด การแก้นำหลักเกณฑ์ตาม แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 มาใช้ในการแก้ไขปัญหา จะต้องมีการแก้ไข ปัญหาโดยการทำงานร่วมกันในเชิงบูรณาการระดับชุมชนที่ครอบครัวนั้น ๆ อาศัยอยู่และหน่วยงาน ภาครัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวจะต้องมีความ พร้อมในเชิงโครงสร้างของบุคลากรและอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานของบุคคลนั้น 2.5.3 แผนปฏิบัติการด้านครอบครัว พ.ศ. 2566 - 2570 การประเมินสถานการณ์ ปัญหา และความจำเป็นของแผนปฏิบัติการด้านครอบครัว สถานการณ์ครอบครัวในปัจจุบัน มีปัจจัยที่ส่งผลกระทบด้านครอบครัว ได้แก่ การเปลี่ยนแปลง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3