2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

54 โครงสร้างต่อครอบครัว การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม การได้รับอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศ การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม การเมืองและกฎหมาย และสถานการณ์ด้านครอบครัว พบว่า ในปัจจุบันมีแนวโน้มของอัตราการเกิดที่ลดลงและอัตราการ เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราการเพิ่ม ของประชากรไทยค่อนข้างต่ำ ข้อมูลจากกรมการปกครอง พ.ศ 2563 มีประชากรทั้งสิ้น 66.18 ล้านคน เป็นประชากร หญิงจำนวน 33.81 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 51.09 ประชากรชายจำนวน 32.37 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 48.91 มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 21.88 ล้านครัวเรือน (กรมการปกครอง(ออนไลน์) , 2563) อัตราการเกิดในปี พ.ศ. 2562 (กรมการ ปกครอง(ออนไลน์), 2563) จำนวนทั้งสิ้น 618,293 คน มีอัตราการเกิดเฉลี่ยวันละ 1,625 คน เมื่อ เปรียบเทียบจำนวนการเกิดของประชากรไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557 – 2562 พบว่า จำนวนการเกิดของ ประชากรไทยลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี ในขณะที่ผู้สูงอายุของไทยมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง โดยในปีพ.ศ. 2563 (กรมการปกครอง(ออนไลน์), 2563) พบว่าจำนวนผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 18.0 ของจำนวนประชากรทั้งหมด นอกจากนี้ ยังพบว่าประชาชนไทยมีการจดทะเบียนสมรสจำนวน 271,344 คู่ และจดทะเบียนหย่า 121,011 คู่ ทั้งนี้ เมื่อเทียบจำนวนการจดทะเบียนสมรสและ ทะเบียนหย่าร้าง ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 – 2562 พบว่า จำนวนการจดทะเบียนสมรสลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่จำนวนการหย่าร้างมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี แผนปฏิบัติการด้านครอบครัว พ.ศ. 2566 – 2570 จึงมีเป้าหมายในการเสริมสร้างสถาบัน ครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง โดยมีแนวทางในการดำเนินการ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านที่หนึ่ง ส่งเสริมให้ ครอบครัวมีคุณภาพ และมีความอบอุ่น มีทักษะและการเรียนรู้ของครอบครัว เพื่อรองรับการ เปลี่ยนแปลงทางสังคม รวมถึงพ่อแม่ และผู้ปกครองสามารถเลี้ยงดูบุตรให้เติบโตสมวัย ด้านที่สอง คุ้มครองและช่วยเหลือครอบครัวให้มีความปลอดภัยและมั่นคง โดย เสริมสร้างความมั่นคงทาง เศรษฐกิจของครอบครัว ลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว สร้างสังคมและชุมชนปลอดภัยสำหรับ ครอบครัว รวมถึงพัฒนา ระบบสวัสดิการสำหรับครอบครัว ด้านที่สาม ส่งเสริมและบูรณาการภาคี เครือข่ายทุกระดับเพื่อพัฒนาสถาบันครอบครัว โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพ กลไกและภาคีเครือข่ายในการทำงานด้านครอบครัว ผลักดัน ให้ท้องถิ่นมีการส่งเสริมความเข้มแข็ง ของครอบครัวในระดับชุมชน รวมถึงผลักดันให้ทุกภาคส่วนมีนโยบาย หรือมาตรการที่สนับสนุนการ พัฒนาความเข้มแข็งขอ งสถ าบั นครอบครัว และด้านที่สี่ มุ่งเน้นการพัฒนาระบบ สนับสนุน การขับเคลื่อนนโยบายด้านครอบครัว โดยสร้างสื่อปลอดภัยสำหรับครอบครัว ส่งเสริมพัฒนาองค์ ความรู้และการจัดการความรู้ด้านครอบครัว ส่งเสริมการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศด้าน ครอบครัวอย่างเป็นระบบ รวมถึงผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวทั้งนี้ และแผนปฏิบัติการ ด้านครอบครัว พ.ศ. 2566 – 2570 ป ระกอบด้วย ยุท ธศาสตร์ 4 เรื่อง ดังนี้ ยุทธศ าส ตร์ที่ 1 เสริมสร้างสุขภาวะและสัมพันธภาพที่ดีของครอบครัว ยุทธศาสตร์ที่ 2 คุ้มครองและช่วย เหลือ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3