2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
55 ครอบครัวให้มีความปลอดภัยและมั่นคง ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมและบูรณาการภาคีเครือข่ายเพื่อ พัฒนาสถาบันครอบครัว และยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายด้าน ครอบครัว โดยยุทธศ าสตร์ทั้ง 4 เรื่อง มี เป้ าห มายหลั ก เพื่อพัฒนาค รอบครัวให้มีคุณภ าพ มีสัมพันธภาพ และสุขภาวะที่ดี ครอบครัวมีหลักประกันที่มั่นคง มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และลด ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว มีกลไก และการบูรณาการภาคีเครือข่ายในทุกระดับเพื่อพัฒนา สถาบันครอบครัว และมีระบบสนับสนุนการขับเคลื่อน นโยบายด้านครอบครัวที่มีประสิทธิภาพ และ เอื้อต่อการทำงานโดยมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้ 1) ส่งเสริมให้ครอบครัวมีสุขภาวะ มีสัมพันธภาพ ที่ดี มีทักษะและการเรียนรู้ของครอบครัว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พ่อแม่ และ ผู้ปกครองสามารถเลี้ยงดูบุตรให้เติบโตสมวัย 2) คุ้มครองและช่วยเหลือครอบครัวให้มีความปลอดภัย และมั่นคง โดยเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ของครอบครัว ลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว สร้างสังคมและชุมชนปลอดภัยสำหรับครอบครัว รวมถึงพัฒนา ระบบสวัสดิการสำหรับครอบครัว 3) ส่งเสริมและบูรณาการภาคีเครือข่ายทุกระดับเพื่อพัฒนาสถาบันครอบครัว โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้าง และพัฒนาศักยภาพ กลไก และภาคีเครือข่ายในการทำงานด้านครอบครัว ผลักดันให้ท้องถิ่นมีการ ส่งเสริม ความเข้มแข็งของครอบครัวในระดับชุมชน รวมถึงผลักดันให้ทุกภาคส่วนมีนโยบาย หรือ มาตรการที่สนับสนุน การพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว 4) มุ่งเน้นการพัฒนาระบบ สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายด้านครอบครัว โดยพัฒนา ปรับปรุงและผลักดัน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับครอบครัว ส่งเสริมการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศด้านครอบครัวอย่างเป็นระบบ สร้างสื่อ ปลอดภัยสำหรับครอบครัว รวมถึงส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้และการจัดการความรู้ด้านครอบครัว (กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2566) ฉะนั้น จะเห็นได้ว่ากรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว จึงได้มีการจัดตั้งแผนปฏิบัติ การด้านครอบครัว พ.ศ. 2566 – 2570 เพื่อให้ลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่จะเกิดขึ้นใน อนาคตและให้ครอบครัวมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น 2.5.4 แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคล ใน ครอบครัว พ.ศ. 2566 - 2570 ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในปัจจุบัน จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือน พ.ศ. 2563 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 21.88 ล้านครัวเรือน และจากรายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านความรุนแรงในครอบครัวปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 พบว่า ระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2563 - พฤษภาคม พ.ศ.2564 มีผู้ถูกกระทำด้วยความ รุนแรงในครอบครัว 1,492 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 81 แบ่งเป็น ความสัมพันธ์สามี ภรรยาร้อยละ 39 วัยกลางคนร้อยละ 32.4 และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ร้อยละ 32.1 โดยปัญหาที่พบ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3