2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
56 เป็นเรื่องการทำร้ายร่างกายมากที่สุดถึงร้อยละ 64.5 รองลงมา คือ จิตใจร้อยละ 31.4 และเรื่องเพศ ร้อยละ 3.6 ซึ่งมีปัจจัยกระตุ้น คือ ยาเสพติด สุรา อาการหึงหวง การมีโทสะ การรู้สึกว่าตนเองมี อำนาจมากกว่า การมีปัญหาสุขภาพทางจิต และความเครียดทางเศรษฐกิจ (กรมกิจการสตรีและ สถาบันครอบครัว(ออนไลน์), 2564) นอกจากสถิติความรุนแรงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ยังพบว่ามิติของการกระทำความรุนแรงในครอบครัวยังแตกต่างไปจากเดิม โดยพบว่า แนวโน้มการ กระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุในครอบครัวมีความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรสูงอายุที่มี สัดส่วนเพิ่มขึ้น และผู้สูงอายุที่เป็นเพศหญิงจะเป็นผู้ถูกกระทำ ด้วยความรุนแรงมากกว่าเพศชาย ซึ่งประเภทความรุนแรงที่พบ เป็นความรุนแรงทางด้านจิตใจมากที่สุด ร้อยละ 30 ถูกทอดทิ้งร้อยละ 17 ค วามรุนแรงทางด้ านก ารเงิน ร้อ ยละ 4.9 แล ะคว ามรุนแ รงทางด้ านร่างกาย ร้อยล ะ 3 (ธีระ กุลสวัสดิ์ & ธัญพิชชา สามารถ, 2563) กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ จึงได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลใน ครอบครัว (พ.ศ. 2566 - 2570) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพคนและสร้างความเข้มแข็งของสถาบัน ครอบครัว เสริมสร้างโอกาสและการคุ้มครองต่อเด็ ก สตรี และบุคคลในครอบครัวอย่างเท่าเทียมกัน ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและเป็นหุ้นส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง ต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวอย่างยั่งยืน ยกระดับการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน ครอบครัวให้มีผลสัมฤทธิ์สูง โดยมีวิสัยทัศน์ให้ครอบครัวปลอดภัย เด็ก สตรีและบุคคลในครอบครัวสุข ใจ สู่สังคมไทยไร้ความรุนแรง และประกอบด้วยยุทธศาสตร์ทั้งหมด 4 ด้าน ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 กำหนดและพัฒนานโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลใน ครอบครัว ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างมาตรการในการป้องกันปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และ บุคคล ในครอบครัว ยุทธศาสตร์ที่ 3 การให้การคุ้มครอง ผู้ถูกกระท ำด้วยความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ยุทธศาสตร์ที่ 4 การกำหนดแนวทางการดำเนินคดี ที่มีความเหมาะสมต่อผู้ใช้ ความรุนแรง ต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว และยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างความเป็นหุ้นส่วน ต่อภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว(กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2566) จะเห็นได้ว่าแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลใน ครอบครัว พ.ศ. 2566 – 2570 กำห นดแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน ครอบครัวไว้หลากหลายแนวทาง แต่สิ่งที่สำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน ครอบครัว คือ การสร้างเครือข่ายจากหน่วยงานหลากหลายภาคส่วนร่วมกันทำงานในเชิงบูรณาการ เพื่อให้เข้าถึงในการดูแล ช่วยเหลือและสนับสนุนประชาชนในชุมชนได้อย่างทั่วถึง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3