2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

60 ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน และสามารถจำแนกการกระทำที่เป็นความผิดฐาน กระทำความรุนแรงในครอบครัวได้ 3 ประเภท ดังนี้ 1.การกระทำใด ๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ สุขภาพของ คนในครอบครัว ซึ่งการกระทำที่มีเจตนาที่มุ่งประสงค์ดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องเกิดผลของการกระทำนั้น ดังนั้น หากได้มีการกระทำเพื่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว แล้วก็ต้องถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้ว แต่เจตนาดังกล่าวจะต้องถึงขนาดที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ ร่างกาย จิตใจหรือสุขภาพด้วย 2.การกระทำโดยเจตนาในลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือ สุขภาพของบุคคลในครอบครัว ซึ่งการกระทำโดยเจตนาในส่วนนี้น่าจะไม่ใช่เป็นการกระทำโดยเจตนา มุ่งประสงค์โดยตรง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่เป็นการกระทำเจตนาในเรื่องอื่นที่มีลักษณะที่น่าจะ ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจหรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว ซึ่งต้องพิจารณาเป็นรายกรณี ไป 3.มีการบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ งดเว้นกระทำการหรือยอมรับการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมิชอบ แต่ไม่รวมถึงการกระทำโดย ประมาท (สุภาวิณี ดีทรัพย์ (ออนไลน์), 2557) เมื่อมีการกระทำความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้น ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงใน ครอบครัวหรือผู้ที่พบเห็นจำต้องแจ้งโดยวาจาหรือเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ เพื่อให้ได้รับ การช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีและสามารถออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกขใหแก บุคคลผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเป็นการชั่วคราวแต่ต้องเสนอมาตราการดังกล่าวให้ ศาลทราบภายใน 48 ชั่วโมงนับแต่วันที่ออกคำสั่ง หากผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวประสงค์จะดำเนินคดี จะต้องมีการ ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวอยู่ในวิสัยและมีโอกาสที่ จะแจ้งหรือร้องทุกขได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพนักงานสอบสวนทำการ สอบสวนโดยเร็ว พร้อมทั้งสงตัวผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว สํานวนการสอบสวนและความเห็น ไปยังพนักงานอัยการ เพื่อฟองคดีตอศาลภายใน 48 ชั่วโมงนับแต่ได้ตัวผู้กระทำความรุนแรงใน ครอบครัว เมื่อศาลพิจารณาผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวมีความผิด ศาลอาจกำหนดให้ลงโทษ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำความผิด ฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือกำหนดใหใชวิธีการฟนฟู บำบัดรักษา คุมความ ประพฤติผู้กระทำความผิดใหผู้กระทำความผิดชดใช เงินช่วย เหลือบรรเทาทุกข ทำงานบริการ สาธารณะ ละเว้นการกระทำอันเป็นเหตุใหเกิดการใชความรุนแรงในครอบครัว หรือทำทัณฑ์บน ไว้(พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550, 2550)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3