2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

62 ครอบครัวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งคุ้มครองป้องกันบุคคลในครอบครัวจากการกระทำความ รุนแรงหรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมและกำหนดให้มีการบำบัด ฟื้นฟู และเยียวยาผู้ถูกกระทำด้วย ความรุนแรงในครอบครัว ให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างเหมาะสมที่สุด นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รักษา ราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้กล่าวถึงหลักการและเหตุผล รวมทั้งความจำเป็นใน การตราพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 สรุปได้ดังนี้ 1. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มีการกำหนดฐานความผิดอาญาที่ไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการลดการกระทำความรุนแรงใน ครอบครัว และกำหนดหน้าที่และอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความ รุนแรงในครอบครัว ในปัจจุบัน รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติในการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในการแก้ปัญหาเพื่อปรับปรุงมาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัวให้มีความเหมาะสม ยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่บุคคลในครอบครัว และกำหนดมาตรการในการ ส่งเสริมพัฒนา และคุ้มครองสถาบันครอบครัวเพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาคว ามรุนแรงใน ครอบครัวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 71 กำหนดให้รัฐพึงเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของครอบครัวอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ที่สำคัญของสังคม และคุ้มครองป้องกัน บุคคลในครอบครัวจากการกระทำความรุนแรง หรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม รวมตลอดทั้งใ ห้การ บำบัด พื้นฟูและเยียวยาผู้ถูกกระทำการดังกล่าว 2. หลักการของพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว โดย กำหนดบทบาทในเชิงรุกให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเป็นศูนย์ส่งเสริม และคุ้มครองครอบครัวในเขตพื้นที่จังหวัด และให้กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวเป็นศูนย์ ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยให้มีหน้าที่และอำนาจดำเนินการให้ เป็นไปตามนโยบายยุทธศาสตร์ แผนหลัก แผนงาน มาตรการ และแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนา ครอบครัว ให้ความรู้ ความเข้าใจและคำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับปัญหาครอบครัว รวมทั้งการปรับปรุง การดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับการกระทำความรุนแรงในครอบครัวซึ่งกำหนดให้ศาลที่พิจารณาพิพากษา คดีอาญาสามารถมีคำสั่งรอการพิจารณาคดีไว้ก่อน จนกว่าจะได้รับรายงานผลการปฏิบัติตามคำสั่ง คุ้มครองสวัสดิภาพเพื่อให้ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวมีโอกาสปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและ ปรับปรุงตัว หลังจากเข้ารับคำปรึกษาแนะนำทางจิตวิทยาสังคมหรือการแก้ไข บำบัดฟื้นฟู อีกทั้งยังได้ ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่และศาลในการออกคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครอง สวัสดิภาพ และปรับปรุงกลไกการเข้าสู่กระบวนการคุ้มครองสวัสดิภาพให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนเพิ่มบทบัญญัติ ในการประสานความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในการมีส่วนร่วมดูแล

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3