2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

67 อย่างแท้จริง โดยมีตำแหน่ง ดังนี้ ที่ปรึกษาศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ประธานคณะทำงาน ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) รองประธานคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) เหรัญญิก ควรเป็นผู้มีความรู้ทางการเงินหรือการทำบัญชี เลขานุการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ควรเป็นปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ผู้ช่วย เลขานุการ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ควรเป็นนักพัฒนาชุมชน หรือเจ้าหน้าที่อ งค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นที่ได้รับมอบหมาย นายทะเบียนคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) และ คณะทำงานอื่น ๆ ตามความเหมาะสมที่คณะทำงานทั้งหมดเห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้น กระบวนการจัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) มีดังนี้ 1.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) ทำหนังสือสอบถาม ความพร้อม และความต้องการจัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ไปยังองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น (อปท.) 2.พัฒ นาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) ลงพื้นที่ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ชี้แจงการดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) กับผู้บริหาร ท้องถิ่น 3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเวทีประชาคม สร้างเครือข่ายครอบครัว เพื่อคัดเลือกคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) 4.ประชุมชี้แจงการดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) 5.ประช าสัมพันธ์การด ำเนินงาน ศูนย์ พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ให้ประชาชนรู้จัก 6.สนับสนุนกิจกรรมศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) 7.ติดตามประเมินผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) 8.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) แจ้งคำสั่งแต่งตั้ง ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) 9.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) จัดทำทำเนียบศูนย์ พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) ไว้เพื่อเป็นฐานข้อมูล ประกอบด้วย รายชื่อศูนย์พัฒนาครอบครัวใน ชุมชน(ศพค.) /ปีที่จัดตั้ง/ ชื่อประธานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) / ที่ตั้งศูนย์พัฒนา ครอบครัวในชุมชน(ศพค.) / ชื่อเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ผู้ประสานงานศูนย์ พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) / เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ เป็นต้น (กองส่งเสริมสถาบันครอบครัว กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (ออนไลน์), 2560)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3