2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
70 ทางการ พัชรินทร์ นินทจันทร์ และคณะ (2554) ได้ทำการศึกษาเรื่องการเสริมสร้างความเข้มแข็งของ ชุมชนเพื่อป้องกันความรุนแรงในครอบครัว และได้ข้อสรุปเป็นประเด็นสำคัญการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อ ป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวไว้ ดังนี้ 1) การขับเคลื่อนชุมชนนั้นต้องการจัดการกระทำใน หลายด้านเป้าหมายที่จะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็มีหลายระดับด้วยกันตั้งแต่ ระดับบุคคล ครอบครัวเพื่อนบ้าน สถาบันทางสังคม องค์กรต่าง ๆ ในชุมชนกฎระเบียบต่าง ๆ รวมถึงวัฒนธรรม ของสังคมนั้น ๆ 2) เพื่อที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนจำเป็นต้องกระตุ้นให้สมาชิกในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วม พัฒนาผู้นําประเมินความสามารถของชุมชนสนับสนุนกลยุทธ์ที่จะใช้ในการ ขับเคลื่อนชุมชน และ 3) ความพยายามในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของแหล่งสนับสนุนต่าง ๆ ในชุมชนเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญอย่างยิ่งซึ่งรูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกัน ความรุนแรงในครอบครัว พัชรินทร์ นินจันทร์และคณะ ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) การประเมินชุมชนและการเสริมสร้างความตระหนัก ได้แก่ การสร้างสัมพันธภาพ การสํารวจ การรณรงค์ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์บุคคลส ำคัญ 2) การสร้างเครือข่าย ได้แก่ การอบรมให้ความรู้การอภิปรายในประเด็นมายาคติเกี่ยวกับหญิงชายการเสริมสร้างความสามารถของ บุคลากรในทีมสุขภาพในชุมชนการอบรมเครือข่ายที่อยู่ในชุมชน เช่น อบรมวิธีการไกล่เกลี่ยฯ 3) ปฏิบัติการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว ได้แก่ เฝ้าระวังการไกล่เกลี่ยการส่งต่อการให้ คำปรึกษาครอบครัวและรายบุคคลการบําบัดเพื่อลด ละเลิกการดื่มสุราและการใช้สารเสพติด และ 4) การเสริมเสร้างความเข้มแข็งของปฏิบัติการต่าง ๆ ได้แก่ การประชุมปรึกษากรณีปัญหา การให้ คำปรึกษาแก่ผู้ปฏิบัติงานการนําเสนอผลงานในการประชุมวิชาการต่าง ๆ การติดตามประเมินผลการ ดําเนินงานการเพิ่มพูนความสามารถเป็นระยะ ๆ จะเห็นได้ว่า รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกัน ความรุนแรงในครอบครัว สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการ ป้องกันความรุนแรงในครอบครัวเพื่อให้คนในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหา ความรุนแรงในครอบครัว การพัฒนาครอบครัวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาครอบครัว เข้มแข็งที่เน้นบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้ทุนที่มีอยู่ในชุมชน คือ (1) เครือญาติ เพื่อนบ้าน มีความหมาย พลังเครือญาติ มีความสำคัญเมื่อครอบครัวเผชิญปัญหา ในอดีตหรือในชุมชนชนบทบาง แห่ง เมื่อใดที่ครอบครัวตกอยู่ในภาวะวิกฤติชุมชนจะไม่ปล่อยให้ ครอบครัวนั้นตกอยู่ในปัญหาอย่าง ไม่มีทางแก้ไข เครือญาติ เพื่อนบ้าน ผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน ต่างมีบทบาท ในการไกล่เกลี่ยช่วยคลี่คลาย ทำความเข้าใจ ปรับวิธีคิด และช่วยประคับประคองครอบครัวนั้น ๆ ให้เป็นปกติสุขได้ต่อไป (2) การ ค้นหารากเหง้าในชุมชน ทุกชุมชนมีประวัติความเป็นมา ไม่ว่าจะมีที่มายาวนานหรือไม่ เพียงใด ทุกประวัติศาสตร์ล้วนมีความหมายต่อชุมชนนั้น ๆ เพราะมีการสั่งสมบ่มเพาะอัตลักษณ์ความเป็นมา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3