2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
75 เพื่อให้การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง มีแนวทางในการดำเนินงานภายในทิศทางเดียวกัน ให้เป็นไปด้วยความประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม ป ระกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ วันที่ 26 กันยายน 2554 และใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป กำหนดให้คดีคุ้มครองสวัสดิภาพตามข้อบังคับนี้ หมายถึง คดี 2 ประเภท คือ 1.คดีร้องขอให้ศาล คุ้มครองสวัสดิภาพผู้ถูกกระท ำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว และ 2.คดีร้องขอให้ศาลคุ้มครองสวัสดิภาพในกรณีที่มีการ ปฏิบัติต่อเด็กโดยมิชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กและศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีคุ้มครอง สวัสดิภาพ คือ ศาลเยาวชนและครอบครัวที่ผู้เสียหายมีถิ่นที่อยู่หรือมีภูมิลำเนา หรือศาลที่มูลเหตุของ คดีเกิดขึ้น(พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีครอบครัว พ.ศ. 2553, 2553) ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบัน ครอบครัว พ.ศ. 2562 “ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพตามมาตรา 29 ศาลอาจมีคำสั่งให้ ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัว พนักงานเจ้าหน้าที่ ติดตามก ำกับให้ผู้กระทำความรุนแรงใน ครอบครัวปฏิบัติตามคำสั่งและรายงานให้ศาลทราบตามระยะเวลาที่เห็นสมควร และจะสั่งให้ผู้กระทำ ความรุนแรง ในครอบครัว ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว บุคคลในครอบครัว หรือบุคคล อื่นที่เกี่ยวข้องมาศาลเพื่อสอบถามความเป็นไปหรือการปฏิบัติตามค ำสั่งศาลก็ได้” ในกรณีที่ศาล มีคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ ผู้อยู่ภายใต้บังคับคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาล ในระหว่างปฏิบัติตามคำสั่ง ศาลอาจมีคำสั่งให้ ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัว พนักงานเจ้าหน้าที่ ติดตามกำกับให้ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวปฏิบัติตามคำสั่งและรายงานให้ศาลทราบ ตามระยะเวลาที่เห็นสมควร จะเห็นได้ว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 มิได้ กำห นดให้ บุ คล าก รป ระจำศูนย์พัฒนาค รอบ ค รัวในชุม ช น(ศพค .) เข้า ไป ทำหน้าที่กำกับ ติดตาม ดูแลการปฏิบัติตนของผู้อยู่ภายใต้บังคับคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพในระดับ ชุมชน ซึ่งบุคลากรประจำศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค.) เป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิด สนิทสนม กับผู้อยู่ภายใต้บังคับคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพมากที่สุด การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวโดย การใช้ความร่วมมือจากชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพดียิ่งกว่า 2.6.2 กฎหมายต่างประเทศ การคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวของต่างประเทศ ศึกษากลไกการ ควบคุมความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 3 ประเทศ ได้แก่ สหพันธรัฐมาเลเซีย เครือรัฐออสเตรเลีย เขตปกครอง Australian Capital Territory และสหรัฐอเมริกา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3