2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์

76 2.6.2.1 สหพันธรัฐมาเลเซีย ความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นในสหพันธรัฐมาเลเซีย รัฐบาลเข้ามาสร้างกลไก การแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการใช้กฎหมาย พระราชบัญญัติความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2537 (Domestic Violence Act 1994) มาควบคุม (Mohd Safri Mohammed Na’aim, Ramalinggam Rajamanickam, et al., 2022) จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2560 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายความ รุนแรงในครอบครัวฉบับเดิม เพื่อให้มีการควบคุม ป้องกันและแก้ไขความรุนแรงในครอบครัวให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติความรุนแรงในครอบครัว(แก้ไข) พ.ศ. 2560 (Domestic Violence (Amendment) Act 2017) ออกมาบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวให้ได้รับความเป็นธรรมและได้รับการเยียวยา ตามสมควรและลดเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นในประเทศให้มากที่สุด การกระทำความรุนแรงในครอบครัว สหพันธรัฐมาเลเซีย ให้คำจำกัดความไว้ อย่างกว้างขวาง กล่าวคือ ความรุนแรงในครอบครัว หมายความว่า การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ โดยจงใจหรือพยายามทำให้บุคคลในครอบครัวได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย การบังคับบุคคล ในครอบครัวโดยการบังคับหรือขู่เข็ญให้มีส่วนร่วมในการกระทำใด ๆ ทางเพศหรืออย่างอื่น การกักขัง บุคคลในครอบครัวโดยขัดต่อเจตจำนงของ เขา การก่อให้เกิดความเสียหายหรือทำลายทรัพย์สินโดย เจตนาที่จะก่อ ให้เกิด หรือ รู้ว่ามี แนวโน้มที่จะก่อ ให้เกิ ดคว ามทุ กข์ หรือ ความรำค าญแก่ ผู้เสียหาย 1 (Domestic Violence Act 1994, 2012) รวมถึงการยักยอกทรัพย์สินของผู้เสียหาย อัน เป็นเหตุให้ผู้เสียหายเดือดร้อนเพราะการสูญเสียทางการเงิน ข่มขู่ผู้เสียหายด้วยเจตนาที่จะก่อให้ ผู้เสียหายกลัวความปลอดภัยของเขา หรือความปลอดภัยในทรัพย์สิน หรือเกรงกลัวความปลอดภัย ของบุคคลที่สาม หรือต้องทนทุกข์ การสื่อสารกับเหยื่อหรือบุคคลที่สามโดยมีเจตนาที่จะดูหมิ่น หรือดู หมิ่นเกียรติและชื่อเสียงของเหยื่อไม่ว่าด้วยวิธีใด ไม่จำกัดเฉพาะการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น 2 (Domestic Violence (Amendment) Act 2017, 2017)มาตรการการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วย ความรุนแรงในครอบครัว ตามกฎหมายความรุนแรงในครอบครัวมีด้วยกัน 2 รูปแบบ ได้แก่ คำสั่ง คุ้ มค รอ ง ชั่ ว ค รา วแ ล ะค ำสั่ งคุ้ มค รอ ง ในก รณี ฉุ ก เฉิ น (Mohd Safri Mohammed Na’aim, RamalinggamRajamanickam, et al., 2022) คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว จะต้องออกโดยศาล เพื่อกำหนดเงื่อนไขแก่ผู้กระทำความ รุนแรงในครอบครัวมิให้กระทำการใด ๆ ที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวต่อผู้ถูกกระทำ 1 Domestic Violence Act 1994 (Act No. 521 of March 1, 2012) Article 2 2 Domestic Violence (Amendment) Act 2017 (Act No. A1538 September 21, 2017) Article 2

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3