2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
77 ด้วยความรุนแรงในครอบครัว เมื่อมีความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการ สอบสวนและนำตัวผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว ดำเนินคดีต่อศาล แม้ในระหว่างที่อยู่ระหว่าง การสอบสวนเกี่ยวกับการกระทำความผิดความรุนแรงในครอบครัว ศาลอาจออกคำสั่งคุ้มครอง ชั่วคราวเพื่อกำหนดเงื่อนไขแก่บุคคลผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว มิให้กระทำการใด ๆ ที่อาจ เป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวต่อผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือบุคคลใน ครอบครัว 3 ซึ่งคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ศาลอาจกำหนดเงื่อนไขได้มากกว่า 1 เงื่อนไข ตัวอย่างเช่น ห้าม หรือยับยั้งบุคคลผู้อยู่ภายใต้คำสั่ง ไม่ให้เข้าไปในสถานที่อยู่อาศัยของผู้ได้รับความคุ้มครอง กำหนดให้ ผู้อยู่ภายใต้คำสั่ง หลีกเลี่ยงการทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือทางโทรศัพท์กับบุคคลที่ได้รับการ คุ้มครองใด ๆ ห้ามเข้าไปใกล้บุคคลที่ได้รับความคุ้มครองในระยะที่อย่างน้อยห้าสิบเมตรหรือใน ระยะทางที่ศาลเห็นสมควร เป็นต้น 4 แต่อย่างไรก็ตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่ศาลกำหนด มีผลบังคับ ผู้อยู่ภายใต้คำสั่งไม่เกิน 12 เดือนนับแต่ศาลออกคำสั่ง 5 หากผู้อยู่ภายใต้คำสั่งไม่สามารถปฏิบัติตาม คำสั่งศาลได้ในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ศาลอาจขยายระยะเวลาดังกล่าวได้อีกไม่เกิน 12 เดือนนับแต่ คำสั่งเดิมสิ้นผลลง 6 และหากผู้อยู่ภายใต้คำสั่งฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามที่ศาลกำหนด จนเป็น เหตุให้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวไม่ได้รับความปลอดภัย มีความผิดและถูกลงโทษ ตามที่ศาลกำหนด 7 ในกรณีศาลเห็นควรให้ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวเข้ารับการให้คำปรึกษา แนะนำบำบัดฟื้นฟู จิตบำบัด หรือการให้คำปรึกษาประนีประนอมอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร แทนการ ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว จะส่งต่อให้เจ้าหน้าที่สวัสดิการสังคมหรือบุคคลที่ได้รับการฝึกอบรมหรือมี ประสบการณ์การให้คำปรึกษา หรือคณะผู้ประนีประนอม หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กรมสวัสดิการ สังคมหรือกรมศาสนาอิสลาม ให้บริการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้น 8 การเยียวยาผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวที่ได้รับบาดเจ็บหรือความ เสียหายต่อทรัพย์สินหรือการสูญเสียทางการเงินอันเป็นผลมาจากความรุนแรงในครอบครัว สามารถ เรียกค่าสินไหมทดแทนได้จากผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว โดยศาลคำนึงถึง ความ เจ็บปวดและความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายหรือจิตใจของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ค่ารักษาพยาบาลสำหรับการบาดเจ็บ การสูญเสียรายได้ จำนวนหรือมูลค่าของทรัพย์สินที่ถูกยึดหรือ 3 Domestic Violence Act 1994 (Act No. 521 of March 1, 2012) Article 4(1) 4 Domestic Violence Act 1994 (Act No. 521 of March 1, 2012) Article 6 5 Domestic Violence (Amendment) Act 2017 (Act No. A1538 September 21, 2017) Article 6 6 Domestic Violence Act 1994 (Act No. 521 of March 1, 2012) Article 6 7 Domestic Violence Act 1994 (Act No. 521 of March 1, 2012) Article 8 8 Domestic Violence Act 1994 (Act No. 521 of March 1, 2012) Article 11
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3