2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
78 ถูกทำลายหรือเสียหาย ค่าที่พักเพื่อสมทบในที่ปลอดภัยหรือที่พักพิง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามจำนวน ค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยจ่ายชดเชยให้ ศาลจะต้องคำนึงถึงปัจจัยทางด้านการเงินของผู้กระทำความ รุนแรงในครอบครัวและผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่าย ตามความเหมาะสม 9 คำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน ถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติความรุนแรงในครอบครัว (แก้ไข) พ.ศ. 2560 (Domestic Violence (Amendment) Act 2017) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวในกรณีฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งคำสั่งคุ้มครอง ฉุกเฉินออกโดยเจ้าหน้าที่สวัสดิการสังคม ที่ประชาชนทั้งในระดับชุมชนสามารถเข้าถึงง่ายเมื่อมีความ รุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้น ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวสามารถยื่นคำร้องคำสั่งคุ้มครอง ได้ที่สำนักงานเขตกรมสวัสดิการสังคมที่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวอาศัยอยู่อย่างถาวร อาศัยอยู่ชั่วคราว ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวอาศัยอยู่ หรือในพื้นที่ที่เหตุการณ์ความรุนแรงใน ครอบครัวเกิดขึ้น เมื่อผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว มายื่นคำร้องขอความช่วยเหลือต่อ เจ้าหน้าที่สวัสดิการสังคม เจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการออกคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมงนับแต่ได้รับแจ้งแต่คำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินมีผลบังคับใช้สำหรับระยะเวลาเพียงแค่ 7 วันนับแต่ วันที่ออกคำสั่ง 10 และเมื่อเจ้าหน้าที่สวัสดิการสังคมออกคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินแล้วต้องดำเนินการแจ้ง ในเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่รับทราบคำสั่งดังกล่าวภายใน 10 ชั่วโมงนับแต่ออกคำสั่ง 11 หากผู้อยู่ ภายใต้คำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวจะต้องรับโทษตามคำสั่งศาล 12 ในพระราชบัญญัติความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2537 (Domestic Violence Act 1994) ได้กำหนดให้มีเจ้าพนักงานสวัสดิการสังคม โดยมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ในการ ดำเนินงานไว้ในมาตรา 19 ซึ่งให้มีหน้าที่ดำเนินการ ในการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงใน ครอบครัว ดำเนินการยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการล่วงละเมิดในครอบครัว จัดเตรียมรถรับ -ส่ง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเพื่อเดินทางไปยังที่พักชั่วคราว สถานที่ปลอดภัย หรือที่พัก พิง จัดเตรียมรถรับ-ส่งผู้ประสบภัยเพื่อเดินทางไปยังโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดเพื่อรับ การรักษาพยาบาลหากจำเป็น แนะนำผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวทราบถึงสิทธิของตน 9 Domestic Violence Act 1994 (Act No. 521 of March 1, 2012) Article 10 10 Domestic Violence (Amendment) Act 2017 (Act No. A1538 September 21, 2017) Article 3A 11 Domestic Violence (Amendment) Act 2017 (Act No. A1538 September 21, 2017) Article 3B 12 Domestic Violence (Amendment) Act 2017 (Act No. A1538 September 21, 2017) Article 6
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3