2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
79 ในการขอความคุ้มครอง 13 เพื่อให้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวได้รับความคุ้มครองได้อย่าง ทั่วถึงและรวดเร็วทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบลและระดับหมู่บ้าน ระบ บช่วย เหลือขอ งป ระเทศ สหพันธรัฐมาเลเซี ย ได้มีการจัดตั้งห น่วยงาน One Stop Crisis Centre (OSCC) ในโรงพยาบาลรัฐทุกแห่งในประเทศมาเลเซีย เพื่อให้บริการแก่ ผู้ถูกกระทำความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการถูกทำร้ายร่างกาย ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศหรือความ รุนแรงในครอบครัว โดยเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อหน่วยงาน One Stop Crisis Centre (OSCC) ได้รับการบริการก็จะทำการรายงานเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นต่อเจ้าหน้าที่ ตำรวจ ซึ่งก่อนเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรัฐจะดำเนินการตรวจต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถูกกระทำ ด้วยความรุนแรงในครอบครัวก่อนเสมอ ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวจะได้รับการตรวจ เก็บหลักฐานทางนิติเวช และรักษาพยาบาลเบื้องต้น จากนั้นจะได้รับการส่งต่อไปยังหน่วยงานเฉพาะ ทางตามอาการของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว เช่น ในกรณีที่ประเมินผู้ถูกกระทำด้วย ความรุนแรงในครอบครัวแล้วมีความเสี่ยงต่อภาวะทางจิตใจจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับคำปรึกษาจาก นักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ จากนั้นจะมีการนัดติดตามการรักษาตามแผนกต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยเข้ารับบริการ (farhana, 2013) อีกทั้งยังมี องค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแล ช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วย ความ รุนแรงในครอบครัว มีชื่อว่า องค์กรช่วยเหลือสตรี (WAO) โดยมีหน้าที่ในการให้คำปรึกษา แนะนำ จัดหาที่พักพิงช่วยเหลือชั่วคราวให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัว ดำเนินการให้ ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างไวที่สุด มีการเสริมสร้าง อาชีพให้การผู้ได้รับผลกระทบ และจัดตั้งศูนย์ดูแลเด็กในกรณีที่ผู้ปกครองได้รับผลกระทบจากความ รุนแรงในครอบครัว (Women’s Aid & Organisation (WAO), 2017) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ให้ ความสำคัญกับความรุนแรงในครอบครัวในสหพันธรัฐมาเลเซียที่มีขนาดใหญ่และทำงานร่วมกับ รัฐบาลในการปรับปรุงนโยบาย กฎหมายและแผนพัฒนาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการดำเนินการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวของ สหพันธรัฐมาเลเซีย มีการคุ้มครองด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและคำสั่งคุ้มครอง ฉุกเฉิน โดยคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจะออกโดยศาล เท่านั้นและศาลสามารถสั่งให้ผู้กระทำความรุนแรง ในครอบครัวชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวตามจำนวนที่ เหมาะสม ส่วนคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน ออกมาคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวในกรณี ฉุกเฉิน เร่งด่วน และผู้ออกคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน คือ เจ้าหน้าที่สวัสดิการสังคม โดยจะต้องออกคำสั่ง ภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมงนับแต่ได้รับแจ้ง และมีผลบังคับใช้สำหรับระยะเวลาเพียงแค่ 7 วัน นับแต่วันที่ออกคำสั่ง อีกทั้งมีการจัดตั้งหน่วยงาน One Stop Crisis Centre (OSCC) ในโรงพยาบาล 13 Domestic Violence Act 1994 (Act No. 521 of March 1, 2012) Article 19
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3