2566-1 นางสาวพิชญ์สินี ใหม่คง-วิทยานิพนธ์
84 การประสานความร่วมมือกัน และมีจุดมุ่งหมาย เพื่อปรับปรุงกระบวนการจัดการคดีระหว่าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาเรื่องความรุนแรงเกี่ยวกับครอบครัว โดยโครงการดังกล่าวมี วัตถุประสงค์สำคัญสองประการ คือ ประกันความปลอดภัยให้แก่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงใน ครอบครัว และประกันความรับผิดชอบและฟื้นฟูของผู้กระทำผิด ได้มีการดำเนินการนำร่องในปีค.ศ. 1998-1999 และโครงการที่ดำเนินต่อเนื่องตามมา ได้เน้นการเสริมสร้างการประสานความร่วมมือใน การจัดการปัญหาระหว่างตำรวจ อัยการ และราชทัณฑ์ พร้อมกับกลไกการช่วย เหลือผู้หญิงที่ กว้างขวางครอบคลุมทุกด้าน คณะกรรมการประสานความร่วมมือของ FVIP ซึ่งเป็นคณะกรรมการ อิสระที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการดำเนินการและการจัดการโครงการ ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานหลัก ๆ ยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการทำให้การสื่อสารระหว่าง หน่วยงานต่าง ๆ ดีขึ้นคือ ข้อตกลงร่วม การพัฒนาแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ การจัดประชุมติดตามคดีทุกสัปดาห์ การพัฒนาระบบข้อมูลที่มีความละเอียดถี่ถ้วน และการทบทวน และประเมินโครงการเป็นระยะ ๆ การริเริ่มที่ประสบความสำเร็จบางประการของ FVIP คือ การ พัฒนา เครื่องมือตรวจสอบความรุนแรงเกี่ยวกับครอบครัว (Family Violence Investigators Kit) และการจัดตั้งศาลพิเศษ ที่เรียกว่า “ศ าล พิเศ ษคดีความรุนแรง (Special Family Violence Magistrate)” เพื่อดำเนินการกับความรุนแรงเกี่ยวกับครอบครัว และปัญหาครอบครัวอื่นๆ (องค์การ เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women), 2563) ดังนั้น สรุปได้ว่า มาตรการที่นำมาใช้ในการควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหา ความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีทั้งการใช้มาตรการทางศาลและมาตการจากหน่วยงาน ของรัฐ กล่าวคือ เมื่อมีการกระทำความรุนแรงเกิดขึ้นผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวจะต้องปฏิบัติ ตนภายใต้เงื่อนไขตามที่ศาลกำหนดเพื่อคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว และ หน่วยงานของรัฐคือ สภาป้องกันความรุนแรงในครอบครัว มีหน้าที่เข้าไปดูแลควบคุมพฤติกรรม ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว ให้คำปรึกษา แนะนำ รวมถึงการเยียวยาผู้ถูกระทำความรุนแรงใน ครอบครัวในชุมชนที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นโดยมีสำนักงาน ผู้ประสานงานโครงการความรุนแรงใน ครอบครัวอยู่ภายใต้การกกำกับดูแล มีการกำหนดอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะเพื่อการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ 2.6.2.3 สหรัฐอเมริกา กลไกการควบคุมความรุนแรงในครอบครัวของประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐบาลได้ นำรัฐบัญญัติการป้องกันความรุนแรงในครอบครัวและการปรับปรุงบริการ พ.ศ. 2564 (FVPSA) มาใช้ บังคับในการควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่ง รัฐ บัญญัติการป้ องกันความ รุนแรงในครอบค รัวและการป รับ ปรุงบริการ พ.ศ. 2564 (FVPSA)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3