2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
87 3) ปรับปรุงแก้ไขแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ 4) นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา (Content of Validity) ยื่นต่อคณะกรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งได้รับรองแล้วตามแนวทางหลักจริยธรรมการ วิจัยในคนที่เป็นมาตรฐานสากล ได้แก่ Declaration of Helsinki, The Belmont Report, CIOMS Guideline และ International Conference on Harmonization in Good Clinical Practice หรือ ICH-GCP ตามใบรับรองที่ COA No.TSU 2023_108 REC No.0165 เมื่อได้แบบสัมภาษณ์แบบมี โครงสร้างที่มีความเชื่อมั่นแล้ว นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างไปเก็บข้อมูลเพื่อดำเนินการวิจัย โดย ผู้ วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง ( Structured Interview) ไปทำการ สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายด้วยตนเองและเก็บรวบรวมข้อมูลตามประเด็นข้อคำถามที่กำหนดไว้ในแบบ สัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างต่อไป 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยมีลำดับขั้นตอนในการวิเคราะห์ ดังนี้ 1) ผู้วิจัยจะนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ โดยนำคำสัมภาษณ์หรือบันทึกสัมภาษณ์จากผู้ถูก สัมภาษณ์มาเปรียบเทียบระหว่างแต่ละบุคคลและจัดลำดับความสำคัญและคุณลักษณะของข้อมูล 2) นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์ที่จัดลำดับความสำคัญแล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลทางเอกสาร ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นแนวคิด ทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะได้ทราบถึงลักษณะที่มี ความคล้ายคลึงกันและแตกต่างกันของข้อมูล 3) นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ และจากการศึกษาเอกสารต่าง ๆ มาทำการวิเคราะห์ข้อมูล อย่างเป็นระบบและนำไปสู่การเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกันแสดงความสำคัญของข้อมูลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์และการเขียนรายงาน ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะเป็นข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข แต่จะประกอบด้วยการพรรณนาที่มีรายละเอียดและลึกมีการอ้างอิงโดยตรงเกี่ยวกับที่มาของข้อมูลไม่ ว่าจะเป็นข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าหรือข้อมูลเอกสาร ดังนั้น ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการตอบประเด็นสัมภาษณ์และข้อมูลเอกสารต่าง ๆ จะถูก นำมาวิเคราะห์และประมวลผล ซึ่ งการวิเคราะห์จะออกมาในรูปเชิงพรรณนานำไปสู่คำตอบใน การศึกษาและสรุปตีความตามหลักวิชาการประกอบการเขียนรายงาน โดยชี้ให้เห็นถึงการสร้างกลไก ทางกฎหมายเพื่อควบคุม การพัฒนามาตรการทางกฎหมายที่ ใช้ในการจัดการขยะอาหารให้มี ประสิทธิภาพเหมาะสมกับปัญหาการเกิดขยะอาหารที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและยกระดับการจัดการขยะ อาหารในประเทศไทยให้เทียบเท่าสากล สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าประสงค์ที่ 12.3
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3