2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

90 เนื่องจากการจัดการขยะในปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่การกำจัดขยะซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุทำให้ไม่ สามารถจัดการกับปัญหาขยะอาหารได้อย่างยั่งยืน 4.1.2 บทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 250 ให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอำนาจดูแลและจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะ เพื่อประโยชน์ ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยกฎหมายได้กำหนดให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่รักษาความสะอาด ที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ซึ่ง ถือได้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยปฏิบัติในการจัดการขยะมูลฝอย รวมถึง อำนาจในการ เก็บ ขน และกำจัดขยะมูลฝอย โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการเองหรือมอบหมายส่วน ราชการอื่นหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในรูปแบบการรวมกลุ่ม เพื่อร่วมกันกำจัดขยะมูลฝอย โดยสามารถมอบหมายให้บุคคลใดดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดหรือจัดหาประโยชน์โดยทำเป็นธุรกิจ หรือได้รับประโยชน์เป็นค่าตอบแทน โดยคิดค่าบริการได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการออกข้อกำหนดท้องถิ่นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ จัดการขยะมูลฝอยการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ค่าธรรมเนียมการเก็บขนและการกำจัด ขยะมูลฝอย จากการที่ได้สัมภาษณ์หน่วยงานของรัฐผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเก็บขยะระดับท้องถิ่น การจัดการนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอุปสรรคและปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอย โดยมี ข้อจำกัดด้านงบประมาณอุปกรณ์เครื่องมือในการเก็บขนและกำจัดไม่เพียงพอ และยังไม่มีระบบการ เก็บรวบรวม ขนส่งขยะมูลฝอยแบบแยกประเภทเพื่อรองรับการคัดแยกมูลฝอยซึ่งรวมถึงขยะอาหาร จากข้อเท็จจริงในปัจจุบันขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นไม่สามารถที่จะเก็บขนได้ในวันเดียวกันทั้งหมด ทำให้ เกิดปัญหาขยะตกค้างตามแหล่งชุมชน ตามร้านอาหาร ทำให้ขยะที่ตกค้างเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น รบกวนประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งยังขาดรถสำหรับเก็บ ขนขยะมูลฝอยจากแหล่งชุมชนไปยังสถานที่กำจัดหรือรถเก็บขนขยะมูลฝอยนั้น มีสภาพเก่า ชำรุด ไม่ สามารถเก็บขนขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่มีสถานที่กำจัด ขยะมูลฝอยในพื้นที่ต้องเก็บขนไปกำจัดร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ ต้องเดินทางไกลในการนำขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้นและทำให้มีขยะตกค้าง ในกรณีข้างต้นแสดงให้เห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่มีสถานที่สำหรับกำจัดขยะ มูลฝอยเป็นของตนเองหรือมีแต่เป็นสถานที่ที่ไม่ได้ขออนุญาต และการกำจัดเป็นแบบเทกองที่ไม่ถูก หลักวิชาการ เพราะขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปทิ้งยังแหล่งกำจัดปลายทางนั้นมีปริมาณมาก ทำให้มีสถานที่ สำหรับกำจัดขยะมูลฝอยไม่เพียงพอ เพราะประชาชนไม่ได้มีการคัดแยกขยะมาจากต้นทาง หรือแม้จะ มีการคัดแยกมาจากต้นทางแล้ว แต่ในจุดทิ้งของขยะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งไว้ให้ก็ไม่ได้มี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3