2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

91 ถังหรือภาชนะในการที่จะรองรับการทิ้งขยะแต่อย่างใด และในกระบวนการเก็บขนก็ยังจัดเก็บในรถ คันเดียวกันโดยไม่มีการแยกขยะแต่ละประเภท จึงทำให้มีขยะเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ทางองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีการรณรงค์คัดแยกขยะเปียกซึ่งรวมถึงขยะอาหารในครัวเรือนมาใช้ประโยชน์ เช่นทำปุ๋ยหมัก เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงไส้เดือน ทำน้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น แต่ในทางกลับกันประชาชนไม่ได้ ปฏิบัติและไม่ให้ความร่วมมือในกิจกรรมนั้น ๆ จึงไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์และในส่วนของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมีข้อบังคับที่มีบทลงโทษไม่เข้มงวด และหลักการดังกล่าวไม่สอดคล้อง กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดให้มีระบบจัดการและกำจัดมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างอื่นได้ เมื่อศึกษาจากกฎหมายแต่ละฉบับแล้วการควบคุมและการจัดการปัญหาขยะนั้น ยังเป็น ปัญหาสำคัญในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การกำหนดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นทุกประเภทไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ ก็มีหน้าที่ต้อง เก็บ ขน และกำจัดขยะในพื้นที่ของ ตน ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนมากที่มีความขาดแคลนทั้งบุคลากร งบประมาณ และ ความรู้ที่ไม่สามารถจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ในส่วนของค่าธรรมเนียมในการ จัดการขยะที่เรียกเก็บกับประชาชน ท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังคิดค่าธรรมเนียมในอัตราที่ต่ำ มักจะเก็บ เฉพาะค่าธรรมเนียมการเก็บขนขยะมูลฝอยเท่านั้น ไม่ได้มองสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงในการจัดการขยะ ทำให้ประชาชนไม่ได้ตระหนักถึงปริมาณขยะที่ตนก่อเพิ่มขึ้น และทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ขาดแคลนงบประมาณในการจัดการขยะ อีกทั้งในกรณีที่ประชาชนไม่ชำระค่าธรรมเนียมในการจัดการ ขยะมูลฝอย หน่วยงานท้องถิ่นยังคงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่บังคับจะต้องเก็บค่าธรรมเนียมในท้องถิ่นที่ ตนอยู่ ไม่สามารถที่จะละเว้นไม่เก็บได้ ในกรณีการรณรงค์ในการคัดแยกขยะนั้นไม่ได้ข้อเท็จจริงเพราะประชาชนไม่ให้ความ ร่วมมือและมองว่าไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ประกอบกับขาดงบประมาณในการจัดสรรการดำเนินการกำจัด ขยะ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากประชาชนในชุมชนก็ไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ ทำให้ขาดงบประมาณ ในส่วนนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงมีงบประมาณไม่เพียงพอในการดำเนินการจัดการกับปัญหา ของขยะและในกรณีที่ประชาชนร่วมมือกับท้องถิ่นในการลดและคัดแยกขยะ และกฎหมายปัจจุบันยัง ไม่เปิดช่องทางให้ท้องถิ่นยกเว้นหรือลดค่าธรรมเนียมให้กับประชาชนกลุ่มนี้ได้ ทำให้ขาดมาตรการจูง ใจให้ประชาชนร่วมลดปริมาณขยะ ดังนั้นกฎหมายควรกำหนดให้เป็นหน้าที่ของประชาชนในการลด และคัดแยกขยะให้ชัดเจน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องสร้างความเข้าใจกับประชาชนในเรื่อง การคัดแยกขยะ และมีระบบรองรับขยะที่ผ่านการคัดแยกให้ถูกต้อง 4.1.3 การปรับใช้หลักการป้องกันล่วงหน้าในการจัดการขยะอาหาร การจัดการขยะอาหารที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาตินั้น มี ลักษณะอย่างหนึ่ง คือ หากเกิดความเสียหายขึ้นความเสียหายนั้นอาจจะร้ายแรง และส่งผลกระทบ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3