2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
92 อย่างสำคัญต่อระบบทางธรรมชาติอื่น ๆ จึงจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมไปกว่าที่เป็นอยู่ จึงจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติการไว้ก่อน โดยจะต้องมี แนวทางหลักการป้องกันล่วงหน้ามาบังคับใช้เพื่อที่จะลดปัญหาการเกิดขยะอาหารแต่ข้อเท็จจริง ชี้ให้เห็นว่าหลักการป้องกันล่วงหน้ากับการปฏิบัติในวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนนั้น มีสภาพปัญหา เพราะว่าประชาชนขาดความร่วมมือในหลักปฏิบัติเพื่อที่จะป้องกันการเกิดขยะอาหาร และถึง แม้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการรณรงค์สร้างความรับรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกให้ ประชาชนในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการลดปริมาณ และคัดแยกขยะมูลฝอย เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ให้ มีความตระหนักรู้และรับผิดชอบในการจัดการขยะอาหาร ณ แหล่งกำเนิดของขยะอาหาร แต่ก็ไม่ ประสบความสำเร็จ เพราะว่าประชาชนในท้องถิ่นนั้นไม่ให้ความร่วมมือและภาชนะที่จะใส่ขยะอาหาร นั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน และหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นนั้นขาดงบประมาณ ในการที่จะจัดการดูแล งบประมาณในการที่จะจัดสรรภาชนะให้ประชาชนไม่เพียงพอ จึงทำให้ขยะ อาหารเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นจำนวนมาก รวมถึงกระทั่งประชาชนไม่มีการคัดแยกขยะ ตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 ข้อที่ 7 ได้กล่าวไว้ว่า ให้ราชการส่วนท้องถิ่น จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยไว้ในที่สาธารณะและสถานสาธารณะให้เพียงพอและเหมาะสมกับ ประเภท ปริมาณมูลฝอย และกิจกรรมในสถานที่นั้นโดยอย่างน้อยต้องมีภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไป และมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน โดยหลักการปฏิบัติไม่สอดคล้องกัน เพราะแต่ละจุดของ พื้นที่ ที่ราชการส่วนท้องถิ่นจัดตั้งไว้ให้มีเพียง 1 ภาชนะเท่านั้นโดยไม่มีภาชนะที่จะให้ประชาชนทิ้ง ขยะแยกภาชนะแต่อย่างใด เมื่อประชาชนทิ้งรวมกันในภาชนะเดียวกันทั้งหมดจึงทำให้ขยะล้น เพิ่มขึ้น เป็นจำนวนมาก ประกอบกับขยะบางอย่างสามารถรีไซเคิลได้แต่เมื่อปะปนกับขยะอาหารก็ไม่สารถที่ จะนำไปรีไซเคิลได้ เพราะเมื่อทิ้งในจุดเดียวกันแล้ว รถที่จัดเก็บขยะของราชการส่วนท้องถิ่นก็จัดเก็บ ในรถคันเดียวกัน โดยรวมขยะหลายๆประเภทซึ่งรถบรรทุกขยะดังกล่าวก็ไม่มีการแยกประเภทของ ขยะแต่อย่างใด การที่รัฐยังขาดนโยบายและแผนการลงทุนที่เป็นรูปธรรมในการลงทุนระบบโครงสร้าง พื้นฐานให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดระบบเก็บขยะแบบแยกประเภท เพื่อรองรั บขยะแต่ละ ประเภทไปจัดการ มาตรการจัดการขยะที่ต้นทางยังถูกมองเป็นงานรณรงค์สร้างความตระหนักให้กับ ประชาชนซึ่งไม่เพียงพอให้เกิดระบบแยกขยะได้ 4.1.4 การขาดมาตรการทางภาษีเพื่อจูงใจในการลดปัญหาการเกิดขยะอาหาร การจัดการสิ่ งแวดล้อมโดยการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อเป็นแนวทางเครื่องมือทาง เศรษฐศาสตร์โดยส่งเสริมสนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้ ใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรมีความตระหนักถึงต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือการ ปล่อยมลพิษ โดยรวมต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือการ ให้บริการ ซึ่งมาตรการทางภาษีที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางได้มีดังนี้ (ชริสา สุวรรณวรบุญ, 2561)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3