2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
93 4.1.4.1 การใช้ภาษีสิ่งแวดล้อม โดยหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle หรือ PPP) อาศัย การให้รางวัลและการทำโทษ เป็นหลักของภาษีสิ่งแวดล้อมที่อยู่บนหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย กล่าวคือ ถ้าโรงงานไหนทำได้ดีจนเกินกติกาที่มาตรฐานกำหนด โรงงานนั้นจะได้สิทธิประโยชน์ บางอย่าง ซึ่งเป็นแรงจูงใจสำคัญและเป็นการดึงดูดผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา สิ่ งแวดล้ อมด้ วย การใช้ ภาษี สิ่ งแวดล้ อมเป็ นการเก็ บภาษี เพื่ อทดแทนความเสี ยหายต่อ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สมคิด พุทธศรี, 2017) เช่น การจัดเก็บภาษีจากสำรวจคาร์บอน ที่ผสมอยู่ในสินค้าต่าง ๆ หรือสารเคมี วัตถุอันตราย ปุ๋ยเคมี ยำฆ่าแมลง รวมถึงบรรจุภัณฑ์และ ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดมลพิษขณะใช้หรือเมื่อเป็นขยะหลังจากใช้แล้ว โดยค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บได้ สามารถนำกลับมาใช้เพื่อจัดการซากผลิตภัณฑ์ หรือจัดการของเสียให้ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผล ให้การบริการและราคาสินค้าสูงขึ้น ทำให้มีผู้บริโภคเกิดความตระหนักในการบริโภคสินค้าหรือการ บริการที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมดังกล่าวจึงมีแนวโน้มการบริโภคลดน้อยลง จนทำ ให้ผู้ผลิตอาจเปลี่ยนไปผลิตสินค้าหรือการบริการที่สร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลงเพื่อลดภาษี ดังนั้นผู้วิจัยเห็นว่าจำเป็นจะต้องมีการจัดเก็บภาษีในการจัดการขยะอาหาร ที่ ก่อให้เกิดมลพิษในกรณีการกำจัดโดยการทิ้งหรือฝั่งกลบที่ไม่ถูกลักษณะตามวิธีการที่กำหนด โดย ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บนั้นสามารถนำมาใช้เพื่อจัดการขยะอาหารให้ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและ นำไปใช้ประโยชน์ได้ อีกทั้งส่งผลให้ผู้ที่ก่อให้เกิดขยะอาหารนั้นมีความตระหนักในการบริโภคสินค้า หรือจำหน่ายและการบริการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ จึงมีแนวโน้มที่จะ ลดการบริโภค จนทำให้ผู้ประกอบการอาจตระหนักถึงความสำคัญในการก่อให้เกิดขยะอาหารเพื่อลด ภาษี การจัดการปัญหาขยะอาหารที่มีประสิทธิภาพนั้น นอกจากจะใช้มาตรการควบคุมและสั่งการโดย กฎหมายแล้ว ยังมีความจำเป็นที่จะต้องนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ควบคู่กันเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาขยะอาหารดังกล่าวให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งใช้หลักการที่สะท้อนหลักผู้ก่ อ มลพิษเป็นผู้จ่าย อันเป็นหลักการที่มีแนวคิดว่าทุกคนมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการจัดสรรค่าใช้จ่าย หรือต้นทุนของมาตรการควบคุมและป้องกันสิ่งแวดล้อม 4.1.4.2 การใช้ภาษีที่แตกต่าง การปรับราคาสินค้าหรือการบริการให้แตกต่างกันตามระดับที่ส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม เรียกว่า การใช้อัตราภาษีที่แตกต่าง เป็นมาตรการที่จูงใจให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคสินค้าที่ ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคลดการบริโภคสินค้าหรือบริการ ที่เป็นผลในทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มการบริโภคสินค้าหรือบริการที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือ ส่งผลกระทบน้อยกว่าต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การเก็บภาษีจากผู้บริโภคอาหารเหลือทิ้งในอัตราต่ำกว่า ผู้ประกอบการที่จำหน่ายอาหาร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3