2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

94 เมื่อศึกษาถึงมาตรการการจัดการปัญหาขยะอาหารของต่างประเทศ พบว่า มีการ ใช้ภาษีสิ่งแวดล้อมในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเมื่อพิจารณาแล้วพบว่า ภาษีสิ่งแวดล้อม มีคุณลักษณะในแง่การเพิ่มต้นทุนสิ่งแวดล้อมและต้นทุนทางสังคมไว้ราคาสินค้าและการบริการโดยมี แนวทางในการเพิ่มราคาของสินค้าให้สูงขึ้น เพื่อจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค และผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตในการลดการก่อมลพิษตามหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย อย่างไรก็ดีการ บังคับใช้มาตรการทางภาษีในประเทศไทยยังไม่มีการนำมาบังคับใช้ในการจัดการกับปัญหาขยะอาหาร แต่อย่างใด มีเพียงการนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ประเภทค่าธรรมเนียมในการเก็บและขนขยะซึ่ง จัดเก็บตามกฎกระทรวงว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลมูลฝอย และอัตราค่าธรรมเนียมอื่น ๆ พ.ศ. 2545 แต่เมื่อพิจารณากับหลักปฏิบัติขององค์กรปกครองส่ วน ท้องถิ่ นแล้ว อัตราค่าธรรมเนียมในการจัดเก็บ ขน ลำจัดสิ่ งปฏิกูลมูลฝอยนั้ น ยังเป็นอัตรา ค่าธรรมเนียมที่ต่ำจึงทำให้หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าวขาดงบประมาณในการ จัดการเกี่ยวกับปัญหาขยะอาหาร 4.1.4.3 การลดหย่อนภาษี เครื่องมือที่ภาครัฐใช้ในการสนับสนุนผู้ประกอบการให้ลงทุนในโครงการที่ส่งเสริม หรืออนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม คือ การลดหย่อนภาษี แต่ในมุมมองธุรกิจซึ่งมักคิดว่าเป็นโครงการที่ใช้เงิน ลงทุนสูงและมีผลตอบแทนไม่คุ้มค่า โดยภาครัฐจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการด้วยการ ลดหย่อนภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบการหรือจ่ายภาษีคืนให้ผู้ประกอบการ เมื่อมีการใช้วิธีที่ไม่เป็น อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เพราะการลดหย่อนภาษีมีผลต่อต้นทุนของกิจการทำให้ผู้ประกอบการ สามารถลงทุนในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า การนำเครื่องมือ ทางเศรษฐศาสตร์มาใช้จัดการปัญหาขยะอาหารควบคู่กับมาตรการสั่งการและควบคุมจะทำให้เกิดผล ดีได้หลายประการ อาทิ สามารถนำหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายมาใช้ได้โดยการเพิ่มราคาสินค้าที่มร ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการนำเครื่องมือเศรษฐศาสตร์มาใช้เป็นการลดภาระหน้ าที่ของ หน่วยงานของรัฐในการจัดการปัญหาขยะอาหารโดยการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ รับผิดชอบปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกันอีกด้วย ผู้วิจัยวิเคราะห์แล้วเห็นว่า การจัดการขยะอาหารในประเทศไทยยังไม่มีมาตรการ ที่ช่วยส่งเสริมให้มีการจัดการขยะอาหารได้อย่างยั่งยืนตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าประสงค์ที่ 12.3 และไม่สอดคล้องกับหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายแต่อย่างใด มาตรการทางกฎหมายส่วนใหญ่เป็น กฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์การกำจัดขยะ และกำหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง และวิธีการจัดการขยะรวมไปถึงบทลงโทษที่มีการฝ่าฝืนกฎหมาย นอกจากนี้ แม้จะมีการจัดเก็บ ค่าธรรมเนียมในการเก็บและขนตามกฎหมายก็ตาม แต่ก็จัดเก็บในอัตราที่ต่ำ เพราะไม่ได้รวมต้นทุน การกำจัดขยะแต่ละประเภทและต้นทุนสิ่งแวดล้อมไว้ จึงทำให้ประชาชนไม่ได้รับผลกระทบจาก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3