2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

95 ค่าธรรมเนียมดังกล่าว อีกทั้งยังไม่จูงใจให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการลดปริมาณขยะ อาหารและการใช้ประโยชน์ของขยะอาหารนั้นด้วยการคัดแยกขยะ ณ แหล่งกำเนิด เพราะอัตรา ค่าธรรมเนียมนั้นมีลักษณะอัตราเดียวที่ใช้กับขยะทุกประเภท ไม่ว่าจะแยกหรือไม่ ก็ไม่ส่งผลให้ภาระ ค่าใช้จ่ายของประชาชนลดหรือเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้นการที่ประชาชนไม่มีแรงจูงใจในการลดการก่อให้เกิดขยะอาหารเป็นผลให้ ขยะที่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่หรือนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ถูกนำไปกำจัดรวมกับขยะมูลฝอย ประเภทอื่น ๆ อันทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าในทางเศรษฐกิจไปเปล่าประโยชน์ นอกจานี้ยัง ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติอีกด้วย ในขณะที่จะใช้กลการจัดเก็บภาษีหลายอัตราตาม ประเภทของขยะหรือปริมาณของขยะอาหาร จะทำให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการคัด แยกขยะและการลดปริมาณขยะอาหารมากยิ่งขึ้น เพราะการคัดแยกขยะทำให้ตนได้รับประโยชน์ ในทางเศรษฐกิจมากกว่าการไม่คัดแยก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการนำมาตรการทางภาษีสิ่งแวดล้อม มาบังคับใช้ในการจัดการปัญหาขยะอาหารเพื่อแก้ไขปัญหาในการจัดการขยะและแก้ไขจุดบกพร่องใน ส่วนของค่าธรรมเนียมในการจัดเก็บและขนขยะที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดการปัญหาขยะอาหารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 4.2 วิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการขยะอาหารในประเทศไทย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะอาหารในประเทศไทยมีอยู่หลายฉบับ และกฎหมายแต่ละ ฉบับจัดให้มีระบบการจัดการและกำจัดขยะมูลฝอยให้มีประสิทธิภาพ แต่ไม่ครอบคลุมการจัดการขยะ มูลฝอยทั้งระบบ จึงก่อให้เกิดปัญหาการจัดการขยะอาหารที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ โดยกฎหมายให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมีหน้าที่ในการจัดการขยะมูลฝอยในท้องที่ ตัวเอง และกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ การที่กฎหมายให้อำนาจ หน้าที่และกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขต่าง ๆ แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการขยะ มูลฝอย ตั้งแต่การเก็บ ขน และกำจัดขยะมูลฝอยนั้น ปัจจุบัน มี 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติรักษา ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการ รักษาความสะอาดทั่วไปในพื้นที่สาธารณะของประเทศ รวมถึงการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย กำหนดอำนาจหน้าที่ในการเก็บ ขนส่งและกำจัดขยะมูลฝอยให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่น ยกเว้น องค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามมาตรา 34/1 และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ที่มี วัตถุประสงค์ในการจัดการสุขลักษณะของกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อมของประชาชน โดยให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ในการกำกับดูแลและป้องกันเกี่ยวกับ การอนามัยสิ่งแวดล้อม เช่น การเก็บ ขน หรือกำจัดขยะมูลฝอย นอกจากนี้ ยังมีพระราชบัญญัติ ส่ ง เสริ มและรั กษาคุ ณภาพสิ่ งแวดล้ อมแห่ งชาติ พ. ศ. 2535 มาตรา 78 ที่ ให้ กระทรวง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3