2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

96 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่อง การเก็บรวบรวม ขนส่ง การกำจัดมูลฝอย ในกรณีที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นตามกฎหมายเฉพาะ กฎหมายทั้ง 3 ฉบับนี้ถือเป็นกฎหมายสำคัญที่กำหนดมาตรการให้พนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องมี อำนาจหน้าที่ในการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่การเก็บ ขน และกำจัด ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายที่ใช้ในการควบคุมและการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยมีอยู่มากมาย หลายฉบับ แต่ละฉบับมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน ซึ่งหมายความรวมถึงการกำจัดขยะอาหารด้วย และมี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก เมื่อพิจารณาตามกฎหมายแล้ว มองเห็นว่ามีปัญหาที่สำคัญใน เรื่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ กฎหมายไม่มีความสมบูรณ์เนื่องจากไม่ ครอบคลุมการจัดการขยะในทุกขั้นตอนโดยกฎหมายจะเน้นไปที่กำจัดแทนที่จะกำหนดหลักเกณฑ์การ จัดการตั้งแต่ต้นทางเหมือนต่างประเทศ ทำให้ปริมาณของขยะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้อ ง บริหารจัดการมีจำนวนมาก อีกกระทั้งการขาดองค์กรหรือกลไกในการบังคับตามกฎหมายแบบบูรณา การ เนื่องจากกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการขยะให้ถูกต้องเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ได้ กำหนดกลไกในการบังคับที่ชัดเจนในกรณีที่มีการจัดการขยะที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ทำให้ปัญหา การจั ดการขยะไม่ ถู กต้ องและก่ อให้ เกิ ดมลพิษที่ ไม่ ได้ ถู กจั ดการอย่ างเหมาะสม และตาม พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย พ. ศ. 2535 และพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ในเรื่องของการจัดการขยะมูลฝอยซึ่งรวมถึงขยะอาหารมีความซ้ำซ้อนกัน แทบทุกเรื่อง และในความซ้ำซ้อนนั้นยังมีความแตกต่างกันในรายละเอียด ทำให้เกิดความสับสนใน การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ 4.2.1 การขาดกฎหมายในการจัดการขยะอาหารโดยเฉพาะ ขยะอาหารเป็นหนึ่งในประเด็นปัญหาที่สำคัญ ถึงแม้จะปรากฏในเป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืน เป้าประสงค์ที่ 12.3 แต่การปฏิบัติเพื่อลดปริมาณและการจัดการขยะอาหารอย่างเป็นระบบใน ประเทศไทยยังไม่ปรากฏชัดเจน และเมื่อพิจารณาด้านกฎหมายในประเทศไทยที่เกี่ยวกับการจัดการ ขยะอาหารนั้ น ไม่ มี กฎหมายเฉพาะว่ าด้ วยการจั ดการขยะอาหาร มี เพี ยงนโยบายของ กระทรวงมหาดไทยที่รณรงค์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจัดการเกี่ยวกับขยะอาหาร แต่ ประชาชนไม่ได้ให้ความร่วมมือจึงไม่ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในวิธีการจัดการขยะอาหาร มากเท่าที่ควร ดังนั้นยังไม่มีกฎหมายในเรื่องดังกล่าวบัญญัติไว้อย่างเฉพาะเจาะจง แต่มีกฎหมายที่ใช้สภาพบังคับอยู่ ได้แก่ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 (2) พระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 และ (3) พระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมขยะทุก ประเภทและทุกแหล่งกำเนิด การจัดการขยะนี้ ทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติ หน่วยงานของรัฐ ไม่ได้ประสานการทำงานร่วมกันเท่าที่ควร(เน้นทำงานตามภารกิจตัวเอง) กฎหมายที่อยู่ให้อำนาจ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3