2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
97 หน้าที่ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเก็บ ขนและกำจัด แต่ในความเป็นจริงแล้ว กฎหมายนั้นไม่ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของประชาชนและทุกภาคส่วนที่จะต้องช่วยกันลดปริมาณและ คัดแยกประเภทของขยะอย่างชัดเจน จึงทำให้มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นเมื่อไม่มีการคัดแยกในส่วนของ ขยะซึ่งรวมถึงขยะอาหารที่สามารถสร้างมลพิษได้อย่างมหาศาลก็ยังต้องกำจัดในประเภทเดียวกันกับ ขยะมูลฝอยทั่วไป ผลจากการศึกษาพบว่าปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร จัดการขยะอาหารโดยตรงมีเพียงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม การกำจัดของเสีย ความสะอาด เรียบร้อยของบ้านเมืองและกระบวนการจัดการจนไปถึงการกำจัดนั้น ยังเป็นวิธีการจัดการและกำจัด ประเภทเดียวกันกับขยะมูลฝอยโดยทั่วไป เพราะกฎหมายไม่ได้แยกประเภทของการปฏิบัติไว้รวมถึง คำนิยามของขยะอาหาร ซึ่งยังอยู่ในประเภทเดียวกันกับขยะมูลฝอย โดยปัญหาทางกฎหมายที่ใช้ บังคับในการจัดการขยะมูลฝอยซึ่งรวมถึงขยะอาหารแยกประเด็นได้หลายประการโดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ ประการแรกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 กฎหมายฉบับนี้มีหลักในการ คุ้มครองประชาชนด้านสุขลักษณะและอนามัยสิ่งแวดล้อม หรือการสุขาภิบาล ให้อำนาจราชการส่วน ท้องถิ่นในการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการจัดเก็บสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยไม่เกินอัตราที่ กำหนดในกฎกระทรวงด้วยแต่ในทางปฏิบัติในส่วนของค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บกับประชาชน องค์กร ปกครองท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังคิดค่าธรรมเนียมในอัตราที่ต่ำ มักจะเก็บเฉพาะค่าธรรมเนียมการเก็บขน ขยะมูลฝอยเท่านั้น ไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนที่ในการจัดการขยะ ทำให้ประชาชนไม่ได้ตระหนักถึงปริมาณ ขยะที่เพิ่มขึ้น และทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นขาดแคลนงบประมาณในการจัดการขยะ อีก ทั้งในกรณีที่ประชาชนไม่ชำระค่าธรรมเนียมในการจัดการขยะมูลฝอย หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น ยังคงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่บังคับจะต้องเก็บค่าธรรมเนียมในราชการส่วนท้องถิ่นที่ตนอยู่ ไม่สามารถ ที่จะละเว้นไม่เก็บได้ อย่างไรก็ตาม แม้กฎหมายฉบับนี้จะมุ่งเน้นการจัดการขยะ แต่ก็เป็นการจัดการ หรือกำจัดขยะที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งถือเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุและไม่ก่อให้เกิดการลดปริมาณขยะ ลง อีกกระทั่งคำนิยามตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินี้ คำว่ามูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ ซึ่งถือได้ ว่าวิธีการจัดการและการกำจัดยังเป็นวิธีการกำจัดประเภทเดียวกันกับขยะมูลฝอย ดังนั้นจึงมีความ จำเป็นที่จะต้อง มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับขยะอาหารโดยการตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้คำนิยาม คำว่า ขยะอาหาร (Food waste) หมายความถึง ขยะอาหารเกิดจากอาหารที่เหลือจากการบริโภคทั้ง ในครัวเรือน อาหารที่เหลือจากการจำหน่ายในร้านค้าปลีก อาหารบุฟเฟต์และอาหารที่ใช้เพื่อปรุงแต่ง จานในร้านอาหารรวมถึงขยะที่สร้างขึ้นในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม จากกระบวนการผลิตที่มี วัตถุดิบเหลือใช้ และจัดเก็บวัตถุดิบที่ไม่ดีทำให้เกิดการเน่าเสีย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3