2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
98 ประการที่สองตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 กฎหมายฉบับนี้บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาความเสื่อมโทรมของคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยให้อำนาจ หน้าที่ราชการส่วนท้องถิ่น มีอำนาจในการบริหารจัดการกำหนดแนวทางปฏิบัติในส่วนที่ ไม่มี หน่วยงานใดรับผิดชอบโดยตรง กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้มุ่งเน้นถึงการจัดการขยะโดยตรง เนื่องจาก พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้กำหนดให้จัดทำรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน อย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ให้เป็นตามที่กำหนดใน ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าประสงค์ที่ 12.3 ปัจจุบันการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อลดปริมาณและจัดการขยะอาหาร นั้นในประเทศไทยยังไม่ปรากฏอย่างชัดเจน เนื่องจากขาดความตระหนักถึงความสำคัญของการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน อีกทั้งส่วนใหญ่จำแนกขยะอาหารเป็นขยะอินทรีย์และนำไป กำจัดรวมกับขยะมูลฝอย โดยไม่มีแนวทางการจัดการเฉพาะเพื่อลดปริมาณและลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม สวนทางกันกับสถานการณ์ปัญหาขยะอาหารที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับวิกฤตจากปัจจัยต่าง อีกทั้งประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเสียยังมีข้อจำกัด สถานที่กำจัดที่ ไม่ถูกต้องตามหลัก สุขาภิบาล และส่วนใหญ่ก็ยังเป็นการฝั่งกลบ ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมในเรื่องการจัดการขยะถือว่า เป็นปัญหาที่มีความสำคัญและสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ในขณะที่ หน่วยงานภาครัฐไม่ได้จัดเก็บข้อมูลขยะอาหารอย่างเป็นระบบจึงทำให้มีข้อมูลไม่เพียงพอในการ กำหนดนโยบายเพื่อบริหารจัดการขยะอาหาร การจัดการขยะอาหารของประเทศไทยจึงยังเป็นส่วน หนึ่งของการดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยอื่น ๆ ดังนั้ นเมื่ อกฎหมายฉบับนี้ มีจุดมุ่ งหมายบัญญัติให้การจัดทำรายงานการวิ เคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้ง ด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ให้เป็นตามที่กำหนดในประกาศกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว เป็นหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ได้ใช้บังคับเป็นเวลานานแล้ว ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรจัดทำรายงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม และระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบันและตาม หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ประเทศไทยได้ลงนามยอมรับวาระไว้เพื่อให้ได้มาตรฐานที่ได้รับความเชื่อมั่น จากทุกภาคส่วนในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติควบคู่ไปกับการพัฒนา ประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ประการที่สามตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของ บ้านเมือง พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่มุ่งเน้นการควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในการรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ในที่หรือทางสาธารณะเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ครอบคลุม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3