2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
99 ถึงกระบวนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยทั้งระบบ กฎหมายฉบับนี้ได้ให้อำนาจหน้าที่ราชการส่วน ท้องถิ่นในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ในเขตพื้นที่ของราชการส่วนท้องถิ่นของตน แต่ ไม่ได้หมายความรวมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัด และยังให้อำนาจในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการ เก็บ ขน และกำจัดขยะมูลฝอยจากผู้ที่เกี่ยวข้องตามอัตราที่กำหนดในข้อกำหนดของท้องถิ่นซึ่งต้องไม่ เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งชี้สภาพปัญหาให้เห็นว่าการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจัดเก็บ ขยะนั้น ประชาชนไม่ได้ให้ความร่วมมือซึ่งทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดแคลนงบประมาณใน การที่จะจัดการเรื่องขยะ ทำให้ราชการส่วนท้องถิ่นขาดทุนในเรื่องของงบที่จะจัดสรรภาชนะและ กระบวนการจัดการขยะ ในกรณีนี้กฎหมายปัจจุบันยังไม่เปิดช่องทางให้ท้องถิ่นยกเว้นหรือลด ค่าธรรมเนียมให้กับประชาชนอีกด้วย และเมื่อมีปัญหาในเรื่องของการจัดการขยะซึ่งไม่สามารถที่จะ แยกประเภทในการเก็บ ขน และกำจัดได้ เพราะคำนิยามคำว่า มูลฝอยนั้น ซึ่งหมายความรวมถึงขยะ อาหารอีกด้วยแม้ข้อเท็จจริงจะมีกระบวนการกำจัดแยกก็ตาม แต่หากเราได้แยกประเภทขยะอาหาร ตั้งแต่ต้นทาง การเก็บ การขน ไปจนถึงการกำจัด ขยะอาหารจะไม่เพิ่มขึ้นและจะกำจัดโดยการฝั่งกลบ ซึ่งประเทศไทยนิยมใช้มากที่สุดสำหรับขยะอาหารนี้ ประการที่สี่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 กฎหมายฉบับนี้ได้ให้อำนาจหน้าที่ราชการส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้ง ในการจัดเก็บ ขน และกำจัด ซึ่งเห็นได้ว่าการจัดการขยะมูลฝอยทุกขั้นตอนนั้นยังคงเป็นปัญหาสำคัญ อยู่ เพราะในข้อเท็จจริงสวนทางกันกลับแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นและ ประชาชน ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะอีกกระทั้งภาชนะที่รองรับขยะมีไม่เพียงพอต่อ เหตุการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น ปัจจุบันขยะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่เครื่องมือในการเก็บ ขน กำจัด ยังมี ปริมาณเท่าเดิมซึ่งไม่เพียงพอต่อปัญหาที่เกิดขึ้น แม้จะมีการรณรงค์แนวทางในการคัดแยกขยะแต่ละ ประเภทซึ่งรวมถึงขยะอาหารเหล่านั้น แต่ประชาชนก็ไม่ได้ให้ความร่วมมือ เพราะขาดความเป็นผู้นำ เด็ดขาด ในการใช้สภาพบังคับแต่ละแนวทางแต่ละนโยบาย ทำแค่ครั้งเดียว ซึ่งไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ อีก กระทั่งภาชนะที่รองรับมูลฝอยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาชนะมีสี โดยเฉพาะแต่ละประเภท แต่ในข้อเท็จจริงกลับไม่มีภาชนะรองรับมูลฝอยตามกฎหมายฉบับนี้เลย มี ภาชนะ 1 ถังแต่ละจุด โดยไม่มีที่รองรับขยะอาหารและขยะแต่ละประเภท รวมถึงกระบวนการจัดเก็บ ของขยะก็ยังจัดเก็บรวมกันกับประเภทขยะอื่น ๆ อีกด้วย จากที่กล่าวมาข้างต้นเห็นได้ว่ามีกฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจ หน้าที่ในการจัดการขยะมูลฝอยหลายฉบับแต่การจัดการขยะอาหารก็ยังคงมีปัญหาอยู่ ซึ่งการจัดการ ขยะอาหารนั้นยังเป็นการกำจัดเดียวกันกับขยะมูลฝอยทั่วไป รวมทั้งกระบวนการเก็บ ขน เหมืนอกัน กับขยะมูลฝอยประเภทอื่น ๆ แม้ขยะอาหารเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลแต่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่สามารถจัดเก็บได้ก็ยังกำจัดโดยการฝั่งกลบอาจจะถูกหลักสุขาภิบาลหรืออาจจะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3