2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

100 ไม่ถูกหลักสุขาภิบาลเพราะพื้นที่มีจำกัด หรือขยะอาหารบางส่วนที่ไม่ได้จัดเก็บก็ส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ดังนั้นเพื่อให้จัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้ จึงจำเป็นต้องมีแนวทางในการ จัดการขยะอาหารแยกกระบวนการ จัดเก็บ ขน กำจัด แยกจากประเภทขยะมูลฝอยอื่น ๆ และรวมถึง ภาชนะที่รองรับขยะอาหารจำเป็นต้องแยกภาชนะสำหรับขยะอาหารเหล่านี้ เพื่อที่จะได้จัดการไป สร้างประโยชน์อย่างอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นการให้อาหารสัตว์ การทำปุ๋ยหมัก หรือการทำพลังงาน เชื้อเพลิง และสร้างแรงจูงใจให้กับประชาชนในการมีส่วนรวมและมีต้นแบบผู้นำที่เด็ดขาดในการเป็น ตัวอย่างให้ประชาชนได้ปฏิบัติตามเพื่อสร้างประโยชน์ที่ดีและให้สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อความก้าวหน้าของประเทศต่อไป 4.2.2 แนวทางการปฏิบัติของต่างประเทศในการจัดการขยะอาหาร การจัดการกับปัญหาขยะอาหารของประเทศต่าง ๆ ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและ ประเทศกำลังพัฒนา เพื่อเป็นแนวทางในการลดปัญหาขยะอาหารในอนาคต 4.2.2.1 แนวทางของสาธารณรัฐประชาชนจีน การประกาศนโยบายของรัฐบาลที่ให้ประชาชนสั่งอาหารแต่พอดี โดยการรณรงค์ Clean Plate หรือกินให้หมดจาน และกำหนดความรับผิดชอบของรัฐบาลเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อ ลดขยะอาหารตั้งแต่ต้นทาง ในกฎหมายระบุว่า รัฐบาลทุกระดับควรใช้ความเป็นผู้นำในการป้องกัน ไม่ให้มีขยะอาหาร ปรับปรุงกลไกการทำงาน กำหนดเป้าหมาย และเพิ่มความเข้มงวดในการกำกับ ดูแลและการจัดการ และมีการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเพื่อลดปัญหาขยะอาหาร โดยสาธารณรัฐ ประชาชนจีนมีการบังคับใช้นโยบายภาษีเพื่ ออำนวยความสะดวกในการลดขยะอาหาร และ สาธารณรัฐประชาชนจีนมีกฎหมายเฉพาะเกี่ ยวกับวิธีการจัดการขยะอาหาร คือ Law of the People's Republic of China on Food Waste. ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการ ขยะอาหารโดยตรง และฝึกค่านิยมหลักของสังคมนิยม เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งให้อำนาจหน้าที่กับท้องถิ่นในการดูแลและจัดการ โดยต้องสร้าง ความเป็นผู้นำในการลดขยะอาหารอย่างชัดเจน โดยมีแนวทางป้องกันตั้งแต่ต้นทางในการเตือน ผู้บริโภคก่อนซื้ออาหารเพื่อเป็นแนวทางให้ลูกค้าสั่งอาหารในปริมาณที่เหมาะสม และเป็นกฎหมายที่ ห้ามสื่อมวลชนผลิต ปล่อย เผยแพร่โปรแกรมการกินและวิดิโอในการแข่งขันที่กินอาหารโดยสิ้นเปลือง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทยกับสาธารณประชาชนจีนในการแก้ไขปัญหา การจัดการขยะอาหารพบว่า มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะมูลฝอย แต่ไม่มีกฎหมายเฉพาะ เกี่ยวกับขยะอาหาร ซึ่งการจัดการขยะอาหารของประเทศไทยนั้นเป็นการจัดการขยะประเภทเดียวกัน กับขยะมูลฝอยทั่วไปเพราะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับจึงทำให้สับสน และซ้ำซ้อนในการบังคับใช้ และผู้นำราชการส่วนท้องถิ่นไม่มีความชัดเจนในการที่จะปฏิบัติเป็นแนวทางในการจัดการกับปัญหา ขยะอาหารอย่างเด็ดขาด จึงไม่ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการขยะอาหาร ประชาชนไม่ให้ความ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3