2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์
102 จัดการขยะอาหาร โดยกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ รวมทั้งกลไกการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ อีก กระทั่งมีการผลักดันนโยบายในการรณรงค์การต่อต้านขยะอาหารซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นทาง 4.2.2.3 แนวทางของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกามีมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาอาหารขยะทั้ งการออกกฎหมาย นโยบายจูงใจทั้งสิทธิประโยชน์ด้านภาษี โดยการออกกฎหมายส่งเสริมให้มีการบริจาคอาหารส่วนเกิน ในปี พ.ศ. 2539 ยกเว้นความรับผิดทางแพ่งและอาญาให้แก่ผู้บริจาคอาหารที่อยู่ในสภาพดีเพื่อการ กุศล ทำให้ภาคธุรกิจกล้าที่จะบริจาคอาหาร และในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการออกกฎหมายส่งเสริมให้ หน่วยงานภาครัฐบริจาคอาหารส่วนเกินแก่องค์กรสาธารณกุศล โดยมีบทบัญญัติให้การจัดซื้อจัดจ้าง อาหารของหน่วยงานของภาครัฐที่มีมูลค่าตั้งแต่ 25,000 เหรียญสหรัฐอเมริกาขึ้นไปต้องมีการท ำ สัญญากับธุรกิจที่มีข้อกำหนดให้ในกรณีที่มีอาหารส่วนเกิน จะต้องบริจาคให้กับองค์กรสาธารณกุศล ในการยกเว้นความรับผิดทางแพ่งและทางอาญาให้แก่ธุรกิจที่บริจาคอาหาร และมาตรการของภาครัฐ ในการแก้ไขปัญหาขยะอาหาร สหรัฐอเมริกามีหน่วยงานหลัก คือ United States Environmentel Protection Agency : USEPA โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรต้องมีการจัดทำแผ่นที่ แล่งขยะอาหารและหน่วยงานที่รับบริจาคอาหารส่วนเกินหรือรีไซเคิลขยะอาหาร เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับขยะอาหารในประเทศไทย แล้ว พบว่า ประเทศไทยไม่มีมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับขยะอาหารโดยเฉพาะ และยังไม่มี แนวทางส่งเสริมจูงใจสิทธิประโยชน์ให้กับประชาชนให้มีการบริจาคอาหาร แม้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการขยะอาหารแต่ก็มีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องซึ่งทำให้การ บังคับใช้มีความสับสนและซ้ำซ้อน อีกกระทั้งหลักความเป็นจริงก็ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายจึงทำให้เกิด ปัญหาขยะอาหาร ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือเพราะขาดความรู้ ในการคัดแยกขยะอาหาร ไม่มีการ จัดการขยะอาหารตั้งแต่ต้นทาง และสร้างค่านิยมผิดๆในการที่จะบริจาคอาหารไม่มีความตระหนักถึง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ในส่วนของประเทศไทยอยู่ระหว่างการเริ่มต้นการจัดการรวบรวมข้อมูล ขยะอาหารให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การแก้ไขปัญหาขยะอาหารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นใน อนาคต ผู้ศึกษาจะนำข้อมูลที่ได้มาจากวิจัยเอกสารและผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ซึ่งเป็นการ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) โดยวิเคราะห์ร่วมกันมาแล้วที่สรุปไว้ดังกล่าว นำไปสู่การ เปรียบเทียบกฎหมายการจัดการขยะอาหารของประเทศไทยและต่างประเทศ ตามตารางที่ 1 ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3