2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

103 ตารางที่ 1 เปรียบเทียบกฎหมายการจัดการขยะอาหารของประเทศไทยและต่างประเทศ ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง ประเทศไทย สาธารณรัฐ ประชาชนจีน สาธารณรัฐ ฝรั่งเศษ สหรัฐอเมริกา 1.กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับขยะ อาหาร     2.บทบาทอำนาจหน้าที่ในการ จัดการขยะอาหาร     3.บทลงโทษ     4.สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี     5. นโยบายเพื่อลดปริมาณขยะ อาหาร     6.ฐานข้อมูลสถิติเกี่ยวกับขยะ อาหาร     4.3 แนวทางการพัฒนากฎหมายในการจัดการขยะอาหารของประเทศไทย ปัจจุบันภาคเอกชนในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจค้าปลีก ภัตคารหรือโรงแรมได้เริ่มตระหนัก ถึงปัญหาที่เกิดจากขยะอาหารและมีบทบาทในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาโครงการลดขยะอาหาร จากตัวอย่างผู้ประกอบการที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่ม เทสโก้ โลตัส ประเทศไทย เป็นห้างสรรพสินค้า ขนาดใหญ่และเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดเผยข้อมูลขยะอาหาร อย่างโปร่งใส ที่เชื่อมั่นว่าการ เปิดเผยข้อมูลนั้นจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาขยะอาหารได้ดีที่สุด รวมถึงกระบวนการจัดการและการ กำจัด ทั้งนี้ เป้าหมายของเทสโก้โลตัสนี้ ซึ่งครอบคลุมถึงผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศไทย คือ ได้มี การป้องกันการเกิดขยะอาหารรวมถึงการกำจัดเพื่อช่วยลดปริมาณขยะอาหารให้ได้ครึ่งหนึ่งของการ เกิดขยะอาหารภายในปี ค.ศ. 2030 โดยเริ่มจากการลดปริมาณขยะอาหารภายในธุรกิจค้าปลีกของ ตนเองตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ รวมถึงบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดแต่ยังรับประทานได้ผ่าน โครงการ “กินได้ไม่ทิ้งกัน” และได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในการขยายผลการลดขยะอาหาร ด้วยการ เป็นธุรกิจค้าปลีกแรกในประเทศไทยที่วัดและเปิดเผยข้อมูลขยะอาหารภายในธุรกิจของตนเอง ซึ่ง สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าประสงค์ที่ 12.3 ปริมาณอาหารที่เทสโก้ โลตัส จำหน่ายไม่ หมดกลายเป็นอาหารส่วนเกินจำนวนมาก โดยได้ถูกบริจาคให้กับองค์กรการกุศล คือ มูลนิธิรักษ์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3