2566-1 นางสาวมูณีเราะฮ์ เบ็ญโกบ-วิทยานิพนธ์

104 อาหาร ส่วนอาหารที่รับประทานไม่ได้แล้วบางส่วนถูกนำไปเลี้ยงสัตว์และทำปุ๋ยอินทรีย์ โดยพยายาม หลีกเลี่ยงการนำไปทิ้งโดยไม่เกิดประโยชน์ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการลดปริมาณขยะอาหาร ปัญหาการเกิดขยะอาหารจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง สะท้อนให้เห็นถึงขั้นตอนกระบวนการ จัดการขยะอาหารตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง ดังนี้ 4.3.1 หลักการป้องกันล่วงหน้า ในปัจจุบันแนวทางการใช้หลักการป้องกันล่วงหน้าในการจัดการปัญหาการเกิดขยะอาหาร นั้น จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. การสร้างมาตรการทางภาษี เพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับผู้ที่ก่อให้เกิดขยะอาหารไม่ว่าจะ เป็นการลดหย่อนทางภาษี โดยที่ให้ทางผู้ประกอบการที่จำหน่ายอาหารไม่หมด และอาหารที่เหลือนั้น กลายเป็นอาหารส่วนเกิน ให้นำไปบริจาคในที่ ที่หน่วยงาน หรือผู้ที่รับบริจาคไม่ว่าจะเป็นอาหาร ส่วนเกินหรือขยะอาหาร แล้วทำหลักฐานเพื่อมาขอลดหย่อนภาษี หรือมาตรการทางภาษี เพื่อสร้าง แรงจูงใจให้ผู้ประกอบการในการลดการเกิดปัญหาขยะอาหาร เพราะตามหลักปฏิบัติแล้วไม่มีการนำ มาตรการทางภาษีมาบังคับใช้แต่อย่างใด ดังนั้นผู้วิจัยเห็นว่าควรนำมาตรการทางภาษีมาบังคับใช้ใ น การควบคุมการเกิดปัญหาขยะอาหารและเป็นการผลักดันเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้ามามี ส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะอาหารตั้งแต่ต้นทางอีกด้วย 2. การโฆษณาหรือรณรงค์เพื่อให้ประชาชนทั้งภาคเอกชนและหน่วยงานของภาครัฐ กระทำการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดขยะอาหาร ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุทางผู้บริโภคที่ขาดการวางแผนในการ จัดซื้ออาหาร ที่ เกินความต้องการของตัวเองจนทำให้เกิดขยะอาหาร หรือสั่ งอาหารที่ เยอะจน รับประทานไม่หมดเป็นสาเหตุให้อาหารเหลือจากการบริโภคทั้งในครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ร้านอาหารบุฟเฟต์ ซึ่งถือได้ว่าไม่มีการวางแผนการจัดการอาหารในการซื้อและรับประทาน ก่อให้เกิด ขยะอาหารซึ่งเป็นการสร้างพฤติกรรมที่ฟุ่มเฟือยของผู้บริโภค หรือวัฒนธรรมที่สร้างค่านิยมแบบผิดๆ ว่าอาหารที่เหลือนั้น คืออาหารที่ไม่สะอาดและไม่ปลอดภัย จึงไม่ทำการบริจาคจนต้องนำไปทิ้ง จาก ข้อเท็จจริงถึงแม้หน่วยงานขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ จะมีการรณรงค์การจัดการขยะ คัด แยกขยะ เห็นว่าหน่วยงานดังกล่าวไม่ให้ความสำคัญกับผลกระทบที่เกิดจากขยะอาหาร ต่อให้มีการ รณรงค์การคัดแยกขยะ แต่ก็ไม่ได้มีการรณรงค์หรือโฆษณาเพื่อเป็นแนวทางการป้องกันการเกิดขยะ อาหารตั้งแต่ปลายทาง ถึงแม้จะมีนโยบายให้จัดการตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามหลักปฏิบัติแล้ว ไม่สอดคล้องกัน เพราะทางร้านผู้ประกอบการไม่ได้มีส่วนร่วมในการโฆษณาเพื่อการบริโภคอาหารแต่ พอดี และยังมีการอัดคลิปวิดิโอ ทำคอนเทนต์ในการแข่งกินจุโดยรับประทานอาหารแบบบุฟเฟต์โดย ไม่มีการรณรงค์และโฆษณาให้ลดปัญหาการเกิดขยะอาหารแต่อย่างใด ผู้วิจัยจึง เห็นว่าหน่วยงาน ภาครัฐที่ เกี่ ยวข้องในการจัดการขยะนั้ นจำเป็นต้องมีการโฆษณาเพื่ อรณรงค์ให้ประชาชนทั้ง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3